“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
NAD Therapy คือ ? มีผลต่อการชะลอวัยได้จริงแค่ไหน ? มาไขข้อข้องใจกัน !
NAD ย่อมาจาก nicotinamide adenine dinucleotide เป็นโคเอ็นไซม์ที่พบในเซลล์ที่มีชีวิตทุกชนิดและยังถูกเรียกว่าโมเลกุลต่อต้านวัย เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและยืดอายุขัย การศึกษาพบว่า NAD สามารถช่วยต่อสู้กับความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัยและภาวะเรื้อรังที่สืบเนื่องมาจากความชรา ทั้งทางร่างกายและสมอง มาเรียนรู้กันว่าโคเอนไซม์ตัวนี้มีกลไกความรับผิดชอบต่อร่างกายมนุษย์อย่างไร และการเสริม NAD therapy คือ ความจำเป็นต่อการชะลอวัยจริงไหม ?
มารู้จัก NAD คืออะไร และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร ?
นิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์ (NAD⁺) พบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่เป็นสารประกอบจำเป็นสำหรับการทำงานระดับโมเลกุล ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีววิทยาขั้นพื้นฐานทังหมด ซึ่งเช่นเดียวกับ เทโลเมีย์ เมื่ออายุมากขึ้น ระดับ NAD คือจะลดลงทีละน้อย และการลดลงของ NAD นี้สัมพันธ์โรคตามอายุ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็ง โรคเมตาบอลิซึม หรือ NCD ต่างๆ รวมทั้งการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงที่เกิดขึ้นตามความชราด้วย
NAD⁺ ค้นพบครั้งแรกในปี 1906 และได้รับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จึงเริ่มเข้าใจถึงศักยภาพของ NAD⁺ ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาสุขภาพของเซลล์ทั่วร่างกาย ป้องกันการเสื่อมและอ่อนแอลงของเซลล์ แต่เนื่องจากกระบวนการทางชีววิทยาของ NAD มากมายและซับซ้อน ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และแพทย์อยู่ระหว่างการค้นคว้าพัฒนา เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะ นำ NAD มาฟื้นฟูสุขภาพและรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของมนุษย์
NAD⁺ เกี่ยวข้องกับความชราอย่างไร ?
อย่างที่กล่าวมาตอนต้น NAD คือ “โมเลกุลตัวช่วย” ที่ไปจับกับเอนไซม์ในกระบวนการทำงานต่างๆของเซลล์ในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เริ่มเกิดขบวนการและควบคุมให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เซอร์ทูอิน” ซึ่งเป็นเอนไซม์ในกระบวนการทางชีววิทยาหลายอย่างภายในร่างกายมนุษย์ ควบคุมการเผาผลาญ การตอบสนองต่อความเครียด และมีความสำคัญต่อชีววิทยาชราภาพ นอกจากนั้น NAD ยังเป็นโคแฟคเตอร์หรือสารตั้งต้นสำหรับปฏิกิริยาทางชีวเคมีของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิดในร่างกาย โดยสรุป NAD คือ สื่อกลางของการทำงานของเซลล์ในการบำรุงรักษาและซ่อมแซม DNA หน้าที่เหล่านี้มีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพและความสมดุลของร่างกายนั่นเอง
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ระดับ ของ NAD ที่ลดลง ส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย กระบวนการของเซลล์จำนวนมาก ที่มีอิทธิพลหรือได้รับอิทธิพลจากความชรา เช่น ความผิดปกติของการเผาผลาญ ความล้มเหลวในการซ่อมแซมดีเอ็นเอ การอักเสบและความเสื่อมสภาพของเซลล์ การลดลงของ NAD ในช่วงอายุที่มากขึ้น จึงส่งผลต่อการพัฒนาโรคที่เกี่ยวข้องกับวัย เช่น หลอดเลือด โรคไขข้อ ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม โรคเบาหวาน และมะเร็ง และอาจทั้งเป็นส่วนที่ทำ โรคที่เกิดตามอายุ ต่างๆเหล่านี้แย่ลงได้ด้วย
เกร็ดสุขภาพ : กระบวนการทางชีวภาพที่ได้รับความช่วยเหลือจาก NAD+ ซ่อมแซมและปกป้อง DNA การแสดงออกของยีน การสกัดพลังงานระดับเซลล์จากสารอาหาร รักษาการทำงานของไมโตคอนเดรีย การรักษาความสมบูรณ์ของโครโมโซม ในแง่ของคนธรรมดา เราต้องการ NAD+ เพื่อมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายของเราจะสร้างโคเอ็นไซม์น้อยลงเรื่อยๆ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราเริ่มรู้สึกถึงผลของความชราและมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยตามวัยมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
อย่างที่ทราบกันแล้วว่า Nicotinamide adenine dinucleotide NAD คือ โคเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญต่างๆ รวมถึงการผลิตพลังงานและการซ่อมแซม DNA น่าเสียดายที่ระดับ NAD จะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น NAD ยังถูกควบคุมให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้ใช้เป็นยารักษาโรค แต่การศึกษาบางชิ้นและสื่อต่างๆยังแนะนำว่าการเพิ่มระดับ NAD ให้ร่างกาย อาจมีผลประโยชน์ในการะชลอวัยและปรับปรุงสุขภาพโดยรวม
การเพิ่มระดับ NAD คือทำได้ทั้งการรับประทาน การใช้แผ่นแปะซึมผ่านผิวหนัง แต่ในความหมายของ NAD therapy คือ การให้ทางหลอดเลือดดำ (IV) เนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะแน่ใจว่าได้รับการดูดซึม 100% ร่างกายได้รับโคเอ็นไซม์เสริมในปริมาณที่สูงและเพียงพตามที่กำหนด สามารถนำไปใช้ได้ทันที ส่วนการเสริม NAD ในรูปแบบอื่น ไม่สามารถควบคุมการดูดซึมเข้าร่างกายได้ ทำให้คาดหวังผลลัพธ์ ในการช่วยร่างกายต่อสู้กับความชราและความเจ็บป่วย หรือมีสุขภาพดีและอ่อนเยาว์มากขึ้นได้ยาก แต่ก็มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่เป็นสารตั้งต้นที่ดีในการสร้าง NAD ให้ร่างกาย ซึ่งต้องมีการวิจัยพัฒนาในการนำมาใช้ทางคลินิกต่อไป อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่สนับสนุนว่า การให้ NAD therapy ให้ประโยชน์ ต่อร่างกาย ดังนี้
- ชะลอการเสื่อมถอยทางสติปัญญา
- ส่งเสริมการทำงานของสมองให้แข็งแรง
- ต่อสู้กับความเหนื่อยล้าเรื้อรัง
- ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ
- สร้างและซ่อมแซมเซลล์
- ลดขบวนการ oxidation
นอกจากนี้ NAD therapy ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท โดยช่วยให้เซลล์สร้างใหม่และปกป้องเซลล์จากความเสียหาย ส่งผลให้การรับรู้ทางจิตเพิ่มขึ้น รวมถึงความชัดเจนของจิตใจที่ดีขึ้น สมาธิสูงขึ้น และการทำงานของหน่วยความจำเพิ่มขึ้น การกระตุ้นการทำงานของสมองโดยรวมนี้ยังช่วยให้เอาชนะปัญหาทางจิตประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย แพทย์จึงหวังผลว่า การบำบัดด้วย NAD คือจะสามารถช่วย จัดการความเครียด และต่อสู้กับ ภาวะ ซึมเศร้า วิตกกังวล และความผิดปกติทางอารมณ์ ได้ดีขึ้น
เกร็ดสุขภาพ : ในขณะที่การวิจัยในปัจจุบัน พยายามทดลองทางคลินิก เพื่อนำ NAD มาใช้ในการรักษา ทั้งทางด้าน เกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ การเสื่อมของไต โรคความชรา และเคมีบำบัด แม้ยังไม่มีแผนการรักษาที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ แต่ก็มีการใช้ NAD therapy อย่างกว้างขวางและได้ผลดี ในการการบำบัดการติดยาเสพติด การฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ต่อต้านริ้วรอย การปรับปรุงการทำงานของระบบประสาท การปรับปรุงประสิทธิภาพการกีฬา การลดน้ำหนัก ซึ่งมีความละเอียดและวิธีการให้แตกต่างกันไป ในแต่ละการหวังผลและแต่ละบุคคล ความปลอดภัยและผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่ทำการรักษาบำบัด ที่สำคัญ NAD therapy คือคนละอย่างกับ การดริปวิตามิน แต่ทั้งสองอย่างควรต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่ควรเสี่ยงชีวิตในการใช้บริการจากสถานเสริมความงามที่ไม่ใช่สถานบริการทางการแพทย์โดยเด็ดขาด
คำถามที่โดดเด่น ทิศทางในอนาคต และการวิจัยเพิ่มเติม
กระบวนการชราภาพและความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับอายุมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูระดับ NAD ในร่างกาย สำหรับมุมมองในอนาคต นอกจากการค้นคว้าสารตั้งต้นของ NAD ให้มีประสิธิภาพและปลอดภัยในมนุษย์เพื่อนำไปใช้ในทางคลินิกแล้ว ยังต้องขยายการศึกษาเพื่อทดสอบผลกระทบและผลข้างเคียงสืบเนื่องจากการเติม NAD ที่ทำให้การสังเคารห์ทางชีวภาพเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลงในชรา รวมทั้งจะมีผลอย่างไรต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุมนุษย์
ดังนั้น จึงยังมีอีกมากที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ NAD ว่ามีอิทธิพลต่อสุขภาพของมนุษย์และชีววิทยาการสูงวัยอย่างไร ซึ่งรวมถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับกลไกระดับโมเลกุลที่ควบคุมระดับ NAD วิธีฟื้นฟูระดับ NAD อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงสูงวัย ทำอย่างไรจะปลอดภัย และการเติม NAD คือ จะมีประโยชน์อย่างแท้จริงปราศจากผลไม่พึงประสงค์ได้อย่างไร
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : nad.com, sciencedirect.com, newdrugloft.com
Featured Image Credit : vecteezy.com/ahasanaraakter
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ