X

Geriatric syndromes คือ อะไร ? มารู้จักกลุ่มโรคเฉพาะในผู้สูงอายุกัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

Geriatric syndromes คือ อะไร ? มารู้จักกลุ่มโรคเฉพาะในผู้สูงอายุกัน !

เมื่อคนเราเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าร่างกายจะเกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย ด้วยเพราะเมื่อมีอายุมากขึ้น สุขภาพก็จะเสื่อมลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา รวมถึงมีความเจ็บป่วยหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเรียกว่า Geriatric syndromes คือ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายกลุ่มโรคด้วยกัน จะมีอะไรบ้างนั้น มารู้จักให้มากขึ้นกันเลยค่ะ

Geriatric syndromes คือ อะไร มารู้จักกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

Geriatric syndromes คือ, พลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ
Image Credit : freepik.com

Geriatric syndromes คือ กลุ่มอาการสูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มโรคและภาวะความเจ็บป่วยต่างๆ ที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีอยู่หลายภาวะด้วยกัน โดยกลุ่มอาการต่างๆ เหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความชราที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงจากยาต่างๆ และเกิดจากโรคประจำตัว – ความเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามวัย อันส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้สมรรถภาพทางกายเสื่อมถอยลง และมีกลุ่มอาการ Geriatric syndromes หรือกลุ่มโรคเฉพาะในผู้สูงอายุเกิดขึ้น จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

Image Not Found

Bewell ไม้เท้าอัจฉริยะ มาพร้อมไฟฉาย และเสียงฉุกเฉิน ปลอดภัยทุกอย่างก้าว

1. การล้ม (Fall)

การหกล้มในผู้สูงอายุไม่ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถือว่าเป็นหนึ่งใน Geriatric syndromes คือ กลุ่มอาการในผู้สูงอายุ เนื่องจากพบได้บ่อยและมักเป็นสัญญาณเตือนถึงอาการผิดปกติที่จะต้องหาสาเหตุ ให้การรักษา และป้องกันการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ ไม่ให้เกิดการล้มซ้ำ เนื่องจากการที่ผู้สูงอายุล้มนั้น ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายมากมาย เช่น กระดูกหัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน หรือมีเลือดออกใต้เยื่อบุสมองหากล้มหัวฟาด ดังนั้น จึงต้องคอยระวังไม่ให้ผู้สูงอายุล้มโดยการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสม มีพื้นกันลื่นในบ้าน มีไฟที่ให้แสงสว่างอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันผู้สูงอายุมองไม่เห็นแล้วสะดุดข้าวของหกล้ม มีราวจับในห้องน้ำ มีกริ่งฉุกเฉินในห้องน้ำ เป็นต้น

2. ภาวะกลั้นปัสสาวะลำบาก (Bladder incontinence)

เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อหูรูดหรือกล้ามเนื้อที่ควบควบการขับถ่ายอาจทำงานเสื่อมถอยลงไป ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ซึ่งภาวะนี้เป็นสิ่งที่กระทบการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง และอาจทำให้ผู้สูงอายุมีความกังวล ไม่อยากออกจากบ้าน ไม่อยากเดินทางไกล เพราะกังวลในเรื่องการกลั้นปัสสาวะนั่นเอง ซึ่งจะต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม

Image Not Found

Lifree ไลฟ์รี่ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ กางเกงซึมซับสบาย ไซส์ M 18 ชิ้น / L 18 ชิ้น / XL 14 ชิ้น (3+1 แพ็ค)

3. ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)

Geriatric syndromes คือ, พลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ
Image Credit : freepik.com

มวลกระดูกของเราบางลงได้เรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ เมื่ออายุมากขึ้น มวลกระดูกก็จะลดลง โดยเฉพาะในวัยสตรีหมดประจำเดือน เมื่อมวลกระดูกลดลงก็อาจทำให้กระดูกเปราะ หัก แตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพมากๆ การออกกำลังกายเป็นประจำรวมถึงการกินอาหารที่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้

4. มีปัญหาการนอนหลับ (sleep Problem)

หนึ่งในกลุ่มอาการ Geriatric syndromes คือ ปัญหาด้านการนอนหลับ เมื่ออายุมากขึ้น คุณภาพการนอนหลับก็จะลดลงเรื่อยๆ โดยช่วงการนอนจะสั้นลง จะตื่นเช้ามากขึ้น และตื่นบ่อยในช่วงกลางดึก ซึ่งปัญหาในการนอนหลับของผู้สูงอายุนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงตามอายุ หรือในบางคนมีโรคประจำตัว อาทิ ต่อมลูกหมากโต ก็ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นบ่อยและหลับสนิทได้ยาก หรือบางคนอาจมีภาวะเกี่ยวกับด้านอารมณ์ เกิดความเครียด วิตกกังวล มีภาวะซึมเศร้า ทำให้นอนไม่หลับ เป็นต้น

Image Not Found

Dr.PONG Z3 – PharmaGABA sleep supplement อาหารเสริมช่วยให้นอนหลับ หลับลึก ผ่อนคลาย

5. ภาวะสับสน (Delirium)

อีกหนึ่งกลุ่มอาการของ Geriatric syndromes คือภาวะสับสนชั่วคราว กล่าวคือ สมองมีการทำงานผิดปกติอย่างฉับพลัน ทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีการนอนหลับผิดปกติ สับสนระหว่างกลางวันกับกลางคืน อาจมองเห็นหรือได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่เห็นหรือไม่ได้ยิน รู้สึกสับสนและไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน จดจำผู้คนรอบตัวไม่ได้ เป็นต้น หากผู้สูงอายุมีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ทำการวินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาได้อย่างเหมาะสม

6. ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)

Geriatric syndromes คือ, พลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ
Image Credit : freepik.com

ภาวะสมองเสื่อมนั้นก็เป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทั้งอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ฯลฯ ภาวะสมองเสื่อมนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ โรคต่อมไทรอยด์ การขาดวิตามินบี 12 รวมถึงความเสื่อมของระบบประสาทและสมองตามกาลเวลา ก็อาจทำให้มีภาวะสมองเสื่ออมได้ การฝึกสมองบ่อยๆ โดยการให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมบูรณาการต่างๆ เช่น เล่นเกม ร้องเพลง เต้นรำ หรือทำกิจกรรมงานอดิเรกอื่นๆ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองเพื่อชะลอการเสื่อม รวมถึงการกินอาหารหรือวิตามินที่ช่วยบำรุงสมอง ก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของสมองได้ค่ะ

Image Not Found

ลูกบาศก์แม่เหล็ก ลูกปัด 3/5 เมตร ของเล่นเสริมพัฒนาการ สําหรับเด็ก

7. แผลกดทับ (Pressure Ulcer)

แผลกดทับมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือมีโรคทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง เส้นเลือดในสมองแตก หรือกระดูกหักอันเกิดจากการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถขยับตัวได้ หากนอนท่าเดิมโดยที่ไม่มีการพลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง ก็จะทำให้เกิดแผลกดทับเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นๆ ทำให้ผิวหนังตายได้ และเกิดเป็นแผลกดทับตามมา

8. การขาดสารอาหาร (inanition)

อีกหนึ่งกลุ่มอาการของ Geriatric syndromes คือภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ความอยากอาหารก็จะลดลง ผู้สูงอายุก็จะรับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพ เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน มีภาวะกลืนลำบาก ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหารหรือรับประทานได้น้อยลงมาก ทำให้ผู้สูงอายุร่างกายซูบผอม ผู้สูงอายุอ่อนเพลีย ไม่มีแรง และมีภาวะขาดสารอาหารได้ ดังนั้น จึงต้องเอาใจใส่อาหารการกินของผู้สูงอายุให้มาก เน้นเป็นอาหารที่นิ่ม ย่อยง่าย มีรสกลางๆ และได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ

เกร็ดสุขภาพ : Geriatric syndromes คือกลุ่มอาการสูงอายุ อาจเรียกสั้นๆ ว่า “big I’s ” ได้แก่ instability (ภาวะหกล้ม) immobility (การสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว) incontinence (อาการปัสสาวะราดหรืออุจจาระราด) intellectual impairment (ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน และภาวะสมองเสื่อม) iatrogenesis (โรคที่เกิดจากการปฏิบัติทางการแพทย์โดยเฉพาะ) และ inanition (ภาวะขาดสารอาหาร) ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุนั่นเองค่ะ

Image Not Found

Boost Care บูสท์ แคร์ อาหารเสริมทางการแพทย์มีเวย์โปรตีน สำหรับผู้สูงอายุ น้ำตาลต่ำ

การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ ทำได้อย่างไร ?

Geriatric syndromes คือ, พลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ
Image Credit : freepik.com

การป้องกันโรคโดยการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามอัตภาพ โดยให้มีสุขภาวะทางกายที่ดี มีสุขภาตจิตที่ดี มีสุขภาพทางสังคมที่ดี รวมถึงมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณที่ดีด้วยเช่นกัน โดยให้มีสุขภาพดีแบบองค์รวมได้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  1. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจชวนผู้สูงอายุออกกำลังกายเบาๆ อย่างการเดิน การรำมวยจีน การเล่นโยคะ เพื่อสร้างเสริมการมีสุขภาพที่ดี 
  3. การมีโภชนาการที่เหมาะสม เน้นโปรตีน ใยอาหาร เกลือแร่และวิตามิน โดยจัดเตรียมอาหารให้ผู้สูงอายุให้มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม
  4. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและสังคม เช่น การทำกิจกรรมงานอดิเรกกับลูกหลาน เพื่อนบ้าน หรือการเป็นครูเพื่อสอนภูมิปัญญาในชุมชนของตน เป็นต้น
  5. การมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ หมั่นสังเกตุอารมณ์ของผู้สูงอายุในแต่ละวันว่ามีภาวะซึมเศร้า – วิตกกังวลหรือไม่ และหาวิธีจัดการความเครียดความวิตกกังวลของผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม เช่น การชวนทำกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สูงอายุคลายเหงาได้ หรือการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญอย่างนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด เป็นต้น 
  6. การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเฉพาะโรคที่สำคัญ ได้แก่ การพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุน โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น 
  7. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่จำเป็นในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม ทำให้ผู้สูงอายุเจ็บป่วยได้ง่าย การฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ อาทิ วัคซีนงูสวัด วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ เป็นต้น
Image Not Found

จักรยานออกกำลังกาย จักรยานฟิตเนส นั่งปั่น Spinbike Uprightbike เสียงเงียบ รุ่น NEON – Homefittools

เกร็ดสุขภาพ : ในผู้สูงอายุยังมีกลุ่มอาการอื่นๆ เช่น มีอาการมึนงงวิงเวียนศีรษะ ที่อาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตต่ำ มีความผิดปกติของหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว (น้ำในหูไม่สมดุล) หัวใจเต้นผิดจังหวะ โลหิตจาง เป็นต้น รวมถึงมีปัญหาด้านการมองเห็นและการได้ยิน โดยมองเห็นได้ไม่ชัด ได้ยินไม่ถนัด อันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อาจมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น

Geriatric syndromes คืออะไร มีกลุ่มโรคอะไรบ้าง ตอนนี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วนะคะ การเข้าใจกลุ่มโรคที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ จะช่วยให้เข้าใจความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุได้มากขึ้น และมีวิธีดูแลผู้สูงอายุได้ดีขึ้น ทั้งในแง่ของสุขภาพกาย สุขภาพใจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม โดยเฉพาะในครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุในบ้าน จำเป็นที่จะต้องใส่ใจดูแลผู้สูงอายุมากๆ เลยล่ะค่ะ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุอีกด้วยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bumrungrad.com, agingthai.dms.go.th, healthinaging.org, ascopubs.org

Featured Image Credit : freepik.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save