“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
รวมปัญหาการนอน ผู้สูงอายุ นอนทั้งวัน นอนไม่หลับ ฯลฯ ครบในบทความเดียว !
เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว วิถีชีวิตของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเพราะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายขึ้น ทั้งความเสื่อมตามวัย ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง เริ่มเข้าสู่วัยทอง – วัยสูงอายุจนเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา หนึ่งในนั้นคือปัญหาในเรื่องการนอนหลับ เราคงเคยเห็นผู้สูงอายุบ่นว่านอนไม่ค่อยหลับ หรือเคยเห็น ผู้สูงอายุ นอนทั้งวัน ปัญหาการนอนในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง พร้อมคำแนะนำและวิธีแก้ไข ให้ดูแลผู้สูงอายุได้ดีขึ้นกว่าเดิม
รวมปัญหาการนอน ผู้สูงอายุ นอนทั้งวัน นอนไม่หลับ และอื่นๆ
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ ปัญหาทางสุขภาพอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ มีวงจรการนอนที่ผิดปกติหรือผิดเพี้ยนไปจากเดิม ในผู้สูงอายุบางคนอาจนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นกลางดึก เวลาเดิมซ้ำๆ รวมถึงผู้สูงอายุ นอนทั้งวัน และทำให้มีปัญหาในการนอนหลับช่วงกลางคืนได้ ซึ่งอาจส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกไม่สดชื่น ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ง่วงเหงาหาวนอนทั้งวัน ทั้งนี้ มีปัญหาด้านการนอนหลับอื่นๆ ในผู้สูงอายุอีกหลายอย่าง ได้แก่
เกร็ดสุขภาพ : การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุส่งผลต่อการนอนหลับของผู้สูงอายุ บางคนอาจใช้เวลานานกว่าเดิมในการเริ่มต้นนอนหลับ เมื่อเข้านอนแล้วอาจจะใช้เวลานานกว่าเดิมในการผล็อยหลับไปจริงๆ รวมถึงผู้สูงอายุนอนไม่หลับ หรือประสิทธิภาพในการนอนหลับลดลง เช่น ตื่นนอนกลางดึกบ่อยๆ ตื่นเช้ากว่าที่ควรจะเป็น มีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน สัปหงกในช่วงกลางวันบ่อยขึ้น นอนกลางวันมากขึ้น หรือทำให้ผูสูงอายุ นอนทั้งวันได้เช่นกัน
- นอนไม่หลับ : นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท อยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งคืน
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ : การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง ส่งผลให้รู้สึกปวดศีรษะในตอนเช้า รู้สึกไม่สดชื่น หรืออ่อนเพลีย ง่วงในเวลากลางวัน สมาธิและความจำลดลง มีการตอบสนองช้าลง
- กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) : ความรู้สึกไม่สบายที่ขา เช่น รู้สึกว่ามีอะไรมาไต่ที่ขา ต้องขยับขาบ่อยๆ ทำให้นอนหลับได้ยากและมีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี
- โรคภาวะขากระตุกขณะหลับ (PLMD) : โรคที่มีการกระตุกของขาซ้ำๆ ขณะนอนหลับ ทำให้สะดุ้งตื่นหรือหลับไม่สนิทตลอดทั้งคืน
- ความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ : ในบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพบางประการที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคหัวใจ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจส่งผลให้นอนหลับหรือตื่นตัวในเวลาที่ต้องการได้ยากกว่าปกติ
- การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับอายุ : การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทำให้วงจรการนอนหลับผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น เวลาที่ใช้ในการหลับลึกลดลงและตื่นในตอนกลางคืนบ่อยขึ้น
- ผู้สูงอายุ นอนทั้งวัน : แม้ว่าเป็นเรื่องปกติที่ผู้สูงอายุจะต้องการการนอนหลับมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่าเล็กน้อย แต่บางครั้งการนอนหลับมากเกินไปอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ได้ เช่น มีปัญหาสุขภาพ มีภาวะซึมเศร้า มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร รับประทานน้อย ส่งผลให้
ผู้สูงอายุ นอนทั้งวัน แก้ไขอย่างไรดี ?
สำหรับผู้สูงอายุที่นอนหลับมากเกินไป การประเมินสาเหตุที่แท้จริงเป็นสิ่งสำคัญ การที่ผู้สูงอายุ นอนทั้งวันอาจเป็นอาการของความป่วยไข้ไม่สบายหรือเกิดจากการใช้ยาหลายชนิด สามารถแก้ไขได้ดังนี้
1. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
หากผู้สูงอายุ นอนทั้งวันจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ผู้สูงอายุอ่อนเพลีย ไม่มีแรง รวมถึงไม่รับประทานอาหาร ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม รวมถึงการพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพเพราะอาจมีความป่วยไข้ไม่สบายบางอย่างที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนทั้งวันได้
2. นอนและตื่นในเวลาเดิมเสมอ
การสร้างตารางการนอนหลับที่เป็นกิจจะลักษณะจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีวงจรการนอนหลับที่ดีขึ้น เมื่อเข้านอนเป็นเวลาก็จะตื่นเป็นเวลา ช่วยแก้ไขปัญหานอนดึกหรือนอนไม่หลับในตอนกลางคืนซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุ นอนทั้งวันในช่วงกลางวันได้
3. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับและลดอาการง่วงนอนตอนกลางวันที่มากเกินไปได้ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ โยคะ รำไทเก็ก รำกระบอง การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ที่ไม่ได้มีแรงกระแทกมากเพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพข้อเข่าและกระดูกของผู้สูงอายุได้
4. สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการนอนหลับ
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมภายในห้องนอนของผู้สูงอายุเหมาะสมกับการพักผ่อน เช่น ไม่มีแสงสว่างรบกวน ไม่มีเสียงรบกวน มีอุณภูมิห้องที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เตียงมีความนุ่มพอดี นอนสบาย เพราะสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับในตอนกลางคืน แต่มาหลับในช่วงกลางวันแทนได้
5. ตรวจสอบปริมาณคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
ผู้สูงอายุบางรายอาจติดชา กาแฟ หากมีการบริโภคมากเกินไปก็อาจทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับได้ รวมถึงผู้สูงอายุที่ดื่มแอลกอออล์ สูบบุหรี่ เพราะสารเสพติดต่างๆ มักส่งผลต่อการนอนหลับด้วยเช่นกัน และทำให้เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนในช่วงกลางวันได้
6. สร้างกิจวัตรก่อนเข้านอน
ผู้สูงอายุ นอนทั้งวันอาจเกิดจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในตอนกลางคืน หรือมีปัญหานอนไม่หลับ การทำกิจกรรมเบาๆ ก่อนนอนจะช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น เช่น การฟังเพลงผ่อนคลาย การอาบน้ำอุ่นหรือแช่เท้าในน้ำอุ่น การดื่มนมอุ่นๆ หรือดื่มชาสมุนไพรก่อนนอน ที่จะช่วยให้นอนกลับได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
7. ผ่อนคลายอารมณ์ก่อนนอน
ในผู้สูงอายุบางรายอาจมีความเครียดวิตกกังวล นอนไม่หลับคิดฟุ้งซ่าน และทำให้มีปัญหาในเรื่องการนอนหลับได้ ทั้งนอนหลับไม่สนิท นอนหลับยาก ฝันร้าย ปวดศีรษะหลังจากตื่นนอน หรือมีภาวะซึมเศร้าได้ ถ้าผู้สูงอายุมีความเครียดวิตกกังวล ควรมีวิธีผ่อนคลายอารมณ์ก่อนนอนเพื่อที่จะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เช่น การนั่งสมาธิ นอนสมาธิ การกำหนดลมหายใจเข้าออก การฟังธรรมะ การสวดมนต์ การฟังเพลงบรรเลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เป็นต้น
เกร็ดสุขภาพ : การรับประทานยาบางชนิดอาจส่งผลต่อการนอนหลับของผู้สูงอายุ เนื่องจากยาบางชนิดออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง เช่น ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาไทรอยด์ ยาแก้ชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาภาวะสมองเสื่อม ยาสเตียรอยด์ ที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุนอนหลับผิดปกติ อาจทำให้นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไปได้
โดยทั่วไปแล้ว ผู้สูงอายุควรนอนหลับวันละ 7 – 8 ชั่วโมง เพื่อการมีสุขภาพที่ดี หากนอนน้อยกว่านี้หรือนอนมากกว่านี้ อย่างผู้สูงอายุ นอนทั้งวัน ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของการมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็ส่งผลทำให้สุขภาพแย่ตามมาอีกเช่นกัน ควรหาสาเหตุที่แท้จริงว่าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการนอนหลับนั้น เกิดจากอะไร และปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว เช่น ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับพักผ่อน ดูแลในเรื่องของการออกกำลังกาย อาหารการกิน ชวนผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอนเพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : sleepcenterchula.org, bangkokhospital.com, nakornthon.com, rama.mahidol.ac.th
Featured Image Credit : freepik.com/gpointstudio
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ