X

NEWS : “ออฟฟิศซินโดรม” ชนวนเกิดโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

NEWS : “ออฟฟิศซินโดรม” ชนวนเกิดโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

office syndrome

ออฟฟิศซินโดรม รอยโรคที่มาจากพฤติกรรม รักษาช้าเสี่ยงกระดูกสันหลังเสื่อม แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแนะเร่งปรับพฤติกรรมก่อนจะสายเกินแก้ 

“ออฟฟิศซินโดรม” เป็นกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังเกิดจากการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม พบได้บ่อยในพนักงานออฟฟิศที่มักใช้เวลากับการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ในท่าเดิมๆ  จนทำให้เกิดเซลล์อักเสบ และร่างกายดึงแคลเซียม เนื้อเยื่อ หรือพังผืดมาเกาะจนทำให้เกิดกระดูกงอก เมื่อเวลาผ่านไปจึงทำให้เป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

office syndrome

อาการหลักที่พบในโรคออฟฟิศซินโดรม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือปวดร้าวศีรษะ บางครั้งมีอาการปวดไปตามแนวแขน หรือหนา ชา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการผ่อนคลาย การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม

ขณะที่ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค เผยว่าพบกลุ่มวัยทำงานป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งโต๊ะเป็นเวลานานๆ และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2556-2560 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ประมาณ 30.8 ล้านคน เป็นกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15 ขึ้นไป) ที่ใช้คอมพิวเตอร์ จำนวนถึง 28.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3 ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มที่ส่งผลให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้สูงขึ้น

สอดคล้องกับข้อมูลของ นพ.ณฐพล ลิตติรานนท์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โดย นพ.ณฐพล เผยว่า “ออฟฟิศซินโดรม” เป็นโรคยอดนิยมของหนุ่มสาวออฟฟิศ เพราะการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ อาจทำให้หลายคนเริ่มมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดตา และรู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะนำไปสู่โรคออฟฟิศซินโดรมเท่านั้น แต่อาจอันตรายจนก่อให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

อย่างไรก็ตาม ท่านั่งที่ไม่เหมาะสมมีผลทั้งกระดูกส่วนคอและส่วนหลัง ดังนั้นการจัดโต๊ะทำงานให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้

office syndrome

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้สูงอายุมีภาวะ Empty Nest Syndrome เพื่อที่จะได้หาวิธีแก้ไขหรือหาวิธีแก้เหงาผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขแม้จะไม่ได้ใกล้ชิดกับลูกๆ เหมือนแต่ก่อนก็ตาม มาดูสัญญาณของภาวะ Empty Nest Syndrome กันเลยค่ะ

นพ.ณฐพล ยังแนะนำการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น เก้าอี้ทำงานต้องมีพนักพิงหลังและพนักแขน เมื่อแผ่นหลังของเราชิดพนักพิงหลังจะไม่งอ ส่วนพนักแขนก็สำคัญ เพราะการวางแขนที่พนักจะช่วยรองรับน้ำหนักแขนได้ ความสูงของเก้าอี้ก็ต้องรองรับสรีระไม่ให้เข่างอระดับ 90 องศา ในส่วนของโต๊ะทำงานที่ดีต้องปรับระดับสูงต่ำได้ คอมพิวเตอร์ต้องตั้งตรง ไม่ให้เราก้มหรือเงยมากเกินไป

“ออฟฟิศซินโดรม” ดูเหมือนจะเป็นโรคยอดฮิตจนกลายเป็นเรื่องปกติของคนในยุคปัจจุบันเพราะโรคดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต บางคนมีอาการปวดหลังหากโชคดีก็เพียงทานยาหรือทำกายภาพบำบัดก็หาย แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าสู่ภาวะการผ่าตัดเพราะกว่าจะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ปวดหลังธรรมดา แต่กลับเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทก็สายเกินไปเสียแล้ว ดังนั้นการสังเกตตัวเองและเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุดจะทำให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ไม่ต้องคิดไปเองว่านี่คืออาการปวดหลังธรรมดาที่เกิดจากกล้ามเนื้อหรือเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังหรือไม่

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาการปวดอาจมีหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือนของอาการเหล่านี้ ควรเริ่มป้องกันและค้นหาสาเหตุ คือสิ่งที่ดีที่สุด และหากมีอาการแล้วก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจนเรื้อรัง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงได้

โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  :  ปรึกษา โทร.02 034 0808

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save