X

งีบหลับ มีประโยชน์ยังไง ? งีบหลับกี่นาทีถึงจะพอดี ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

งีบหลับ มีประโยชน์ยังไง ? งีบหลับกี่นาทีถึงจะพอดี ?!

อาการง่วงยามบ่ายเป็นอะไรที่ทรมานมากเลยใช่มั้ยคะ ? ถึงแม้ว่าจะดื่มกาแฟไปแล้วก็ยังไม่สามารถสลัดอาการง่วงออกไปได้อยู่ดี เพราะวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้หายง่วงได้ก็คือการนอนหลับนั่นเองค่ะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้นอนหลับยาวไปเลย การนอนพักอย่างมีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้รู้สึกตื่นตัวและสดชื่นมากขึ้นจะต้องนอนในระยะเวลาที่พอดี ไม่นานและไม่สั้นจนเกินไป หากนอนนานเกินไปก็อาจส่งผลทำให้ง่วงและเพลียมากกว่าเดิมได้เช่นกัน แล้วต้อง งีบหลับ ยังไงถึงจะได้ผลดี เรามีคำตอบมาฝากกันแล้วค่ะ

รู้จักประโยชน์ของ Power Nap ต้อง งีบหลับ กี่นาทีถึงจะพอดี  ?!

วิธีแก้อาการง่วงนอนสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ดื่มกาแฟ ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ล้างหน้า เป็นต้น แต่วิธีการดังกล่าวอาจช่วยได้แค่เบื้องต้นเท่านั้น และไม่ได้ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น นอกจากนี้ หากกินเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ด้วย ในบางรายอาจถึงขั้นมีอาการใจสั่นเลยทีเดียว เรามาใช้วิธีแก้ง่วงที่สามารถทำได้ง่ายและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างการงีบหลับหรือ Power Nap แทนกันดีกว่าค่ะ รับรองว่าเอาชนะความง่วงได้รวดเร็วทันใจ แถมยังช่วยทำให้สมองปลอดโปร่งพร้อมทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

ประโยชน์ของการงีบหลับมีอะไรบ้าง ?

งีบหลับ, power nap คือ
Image Credit : freepik.com

การงีบหลับ​ หรือ Power Nap คือคำที่ถูกคิดค้นโดย James Maas นักจิตวิทยาด้านสังคมจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล หรือสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า Cat Nap เป็นการนอนหลับในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นที่ร่างกายเข้าสู่ช่วงหลับลึก ทั้งนี้หลังจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่มในช่วงกลางคืนเมื่อตื่นขึ้นมาใหม่ๆร่างกายของเราจะมี Homeostatic Sleep Drive หรือความต้องการการนอนในระดับที่ต่ำ แต่เมื่อใช้ชีวิตในระหว่างวันไปเรื่อยๆ ความต้องการการนอนจะเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้หลายคนมักจะรู้สึกง่วงนอนตอนบ่ายนั่นเอง ดังนั้น Power Nap คือวิธีการที่ดีในการกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกตื่นตัวและสดชื่นขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า Power Nap ส่งผลดีต่อสุขภาพในอีกหลายด้าน ได้แก่

  • ทำให้สามารถทำงานหรือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการง่วงนอน เช่น การขับรถหรือการทำงานกับเครื่องจักรอุตสาหกรรม
  • รู้สึกมีสมาธิจดจ่อมากขึ้น สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยลดความดันโลหิต และมีแนวโน้มว่าอาจลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจวายได้ด้วย
  • ช่วยปรับอารมณ์ ทำให้อารมณ์ดี สดชื่นแจ่มใส ลดอาการหงุดหงิดที่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอได้

ชวนรู้จัก วงจรของการนอนหลับ 4 ระยะ เพื่อให้เข้าใจการนอนหลับมากขึ้น

โดยปกติแล้ว วงจรการนอนหลับของเราจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน ดังนี้

  1. ระยะแรกของการนอนหลับ คือการเปลี่ยนจากการตื่นเข้าสู่การนอน ในระยะนี้เป็นเพียงขั้นแรกที่จะนำไปสู่การนอนหลับ ถ้าถูกปลุกจะรู้สึกเหมือนยังไม่ได้นอน
  2. ระยะที่สอง เป็นการเข้าสู่การนอนหลับอย่างแท้จริง แต่เป็นการนอนหลับแบบตื้นๆ เท่านั้นโดยที่ยังไม่มีการฝัน ซึ่งเป็นระยะการนอนที่ถูกปลุกให้ตื่นได้ง่ายที่สุด
  3. ระยะที่สาม เริ่มเข้าสู่ระยะของการหลับลึกหรือ deep sleep  ร่างกายพักผ่อนอย่างเต็มที่และเริ่มไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก เป็นช่วงเวลานอนที่มีคุณภาพเพราะร่างกายจะมีการหลั่ง Growth Hormone ออกมา  ระยะนี้ปลุกให้ตื่นได้ยากและเมื่อถูกปลุกจะรู้สึกงัวเงียมาก (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก deep sleep คือ อะไร ?)
  4. ระยะที่สี่ เป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวไปมาของตาอย่างรวดเร็ว สมองทำงานใกล้เคียงกับตอนตื่นและเป็นช่วงที่เริ่มมีความฝันเกิดขึ้น เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ยากมากที่สุด

เกร็ดสุขภาพ : หลายคนไม่ชอบการนอนพักระหว่างวันเพราะมักจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการปวดศีรษะและมีอาการมึนหัว ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าอาจมีปัญหาในการนอนหลับหรือมีปัญหาด้านสุขภาพบางอย่าง เช่น อาการนอนกรนจากปัญหาของระบบทางเดินหายใจ หรือการนอนกัดฟันจนทำให้กล้ามเนื้อตึงเกร็งจนปวดศีรษะ เป็นต้น ผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวมักจะมีอาการปวดศีรษะหลังจากตื่นนอนมากกว่าคนปกติถึง 2 – 8 เท่าเลยทีเดียว ดังนั้นการนอนพักในระยะเวลาที่ไม่พอดีก็อาจจะกระตุ้นให้มีอาการปวดศีรษะมากขึ้นได้

ควรงีบหลับกี่นาทีถึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด?

งีบหลับ, power nap คือ
Image Credit : freepik.com
  1. การนอนหลับ 10 – 20 นาทีคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการงีบหลับ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายยังไม่เข้าสู่ขั้นหลับลึก สามารถปลุกให้ตื่นได้ง่ายและมีความรู้สึกสดชื่นขึ้นหลังจากตื่นนอน
  2. หากนอนหลับเกิน 30 นาที ร่างกายจะเริ่มเข้าสู่สภาวะหลับลึก เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกอ่อนเพลียและเฉื่อยชา
  3. การนอนหลับ 60 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จะเริ่มมีผลต่อสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ทำให้รู้สึกสดชื่นและมีความงัวเงีย ตื่นยากกว่าปกติ
  4. ระยะเวลาการนอนหลับ 90 นาที คือการนอนหลับที่ครบวงจรการนอนทั้ง 4 ระยะ เป็นการเข้าสู่การนอนหลับอย่างสมบูรณ์ สมองได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ มีความรู้สึกสดชื่นและรู้สึกอารมณ์ดีมากขึ้น สามารถทำงานในด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ดี

เกร็ดสุขภาพ : สำหรับช่วงเวลาการงีบหลับที่เหมาะสมที่สุดควรอยู่ในช่วง 13 .00 น. ถึง 15.00 น. เพราะเป็นช่วงที่อุณหภูมิร่างกายลดลง ทำให้สมองมีการสร้างเมลาโทนินและทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และควรเว้นให้ห่างจากระยะเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน แต่ถ้าพบว่ามีการฝันในระหว่างงีบแปลว่าร่างกายกำลังเผชิญกับอาการอดนอนอยู่ จึงควรปรับเปลี่ยนตารางนอนให้มีคุณภาพมากขึ้นและปรับสภาพแวดล้อมในห้องให้มืดสนิท เพื่อให้เหมาะสำหรับการนอนหลับพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ

การงีบหลับ หรือ Power Nap คือวิธีการแก้ง่วงที่มีประสิทธิภาพก็จริงแต่อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน อย่างไรก็ตาม การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในตอนกลางคืนก็ยังเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมากกว่า และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วยเพื่อแก้ปัญหาการนอนไม่หลับโดยไม่ต้องพึ่งสมุนไพร แก้อาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ในตอนกลางคืนและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีที่ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียระหว่างวันในระยะยาวได้อีกด้วย หากปรับพฤติกรรมตัวเองใหม่ ก็อาจจะทำให้ไม่มีอาการง่วงนอนในตอนกลางวันก็ได้นะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : sleepscore.com, health.harvard.edu, sleepfoundation.org

Featured Image Credit : freepik.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save