“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
มือเท้าปาก ไม่มีไข้ ติดต่อหรือไม่ ? อันตรายแค่ไหน !
โรค มือเท้าปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหลายชนิด ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง จากตัวผู้ป่วยหรือจากเชื้อที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม โรคนี้พบบ่อยในเด็กเล็กอายุ 1-5 ปี เป็นโรคที่พบประจำถิ่นในไทยและมีการแพร่ระบาดเป็นครั้งคราวในสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนชั้นอนุบาล และโรงเรียนชั้นประถม ซึ่ง โรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ อาการไม่รุนแรง จึงพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปากน้อยมาก โรคนี้พบไม่บ่อยในเด็กโตและผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กโตและผู้ใหญ่มักติดเชื้อดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วัยเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย คล้ายอาการลิ้นแตก ร้อนใน
มือเท้าปาก ไม่มีไข้ ข้อควรระวังและการดูแลตัวเอง !
โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 และเอนเทอโรไวรัส 71 กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้นี้ได้บ้าง
โรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ สามารถพบเชื้อไวรัสก่อโรคในอุจจาระ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย รวมทั้งในตุ่มพองของผู้ป่วย เชื้อจึงแพร่กระจายได้จากการสัมผัสกับอุจจาระ น้ำมูก น้ำลายและน้ำในตุ่มพองของผู้ที่เป็นโรค ระยะเวลาการแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เมื่อเริ่มเป็นโรค จนถึงเมื่อตุ่มพองที่ผิวหนังหายไป อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสถูกปลดปล่อยออกมาทางอุจจาระได้นานหลายสัปดาห์
อาการของโรคมือเท้าปาก
หลังจากสัมผัสเชื้อ 3 – 6 วัน เด็กจะมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ หลังจากนั้น 1 – 2 วัน เด็กที่ติดเชื้อโรคมือเท้าปาก อาการที่มักจะพบคือ อาการเจ็บในปาก ทำให้ไม่ยอมรับประทานอาหารตามปกติ ทั้งนี้เนื่องจากมีตุ่มพองและแผลเกิดขึ้นในปาก นอกจากนี้โรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ ยังพบตุ่มพองที่มือและเท้าด้วย ส่วนอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น คือ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดบวม เป็นต้น ซึ่งอาจต้องหาสมุนไพรล้างปอดมากิน เพื่อช่วยให้ปอดและหลอดลมสะอาด
สำหรับลักษณะที่สังเกตพบในปากนั้น ส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการเจ็บในปาก ทำให้ไม่รับประทานอาหารตามปกติ เด็กที่เป็นโรคในปากจะเริ่มจากมีจุดแดงแล้วเป็นตุ่มพอง มักพบที่เพดานแข็ง ลิ้น กระพุ้งแก้ม ตุ่มพองนี้มักจะแตกออกหลังจากเกิดขึ้นไม่นาน ทำให้พบลักษณะเป็นแผลตื้นๆ รูปร่างกลมขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร ขอบแผลแดง พื้นแผลมีสีออกเหลือง แผลเล็กๆ หลายแผลอาจรวมกันเป็นแผลใหญ่ก็ได้ ส่วนโรคมือเท้าปาก อาการที่พบบริเวณมือและเท้าผื่นที่ผิวหนังอาจเกิดต่อเนื่อง 1 – 2 วัน เริ่มจากจุดเรียบหรือนูนแดง แล้วกลายเป็นตุ่มพองและแตกออกเป็นแผล พบได้ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมทั้งด้านข้างของนิ้วมือและนิ้วเท้า
เกร็ดสุขภาพ : กลุ่มเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคมือเท้าปาก คือ เด็กทารก เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือผู้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน แต่จะพบน้อยลงในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี และพบได้น้อยมากในเด็กวัยรุ่น สำหรับการติดต่อของโรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ในผู้ใหญ่ พบว่าในพื้นที่ที่พบการเกิดของโรคมือเท้าปากเป็นประจำ ผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานต่อโรคเเล้วบางส่วนจากการได้รับเชื้อขณะเป็นเด็ก ซึ่งภูมิต้านทานนี้จะจำเพาะกับชนิดของไวรัสที่เคยได้รับเชื้อ หากได้รับเชื้อชนิดใหม่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทานก็สามารถเป็นโรคได้อีก ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่รุนเเรง เเต่สามารถเเพร่เชื้อไปสู่เด็กหรือผู้อื่นได้ ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อโรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดี โดยผู้ปกครองของเด็กเล็กสามารถป้องกันโรคมือเท้าปาก รวมถึงป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดย การหลีกเลี่ยงคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย ป้องกันโรคมือเท้าปาก รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ หากเด็กมีลักษณะของโรคมือเท้าปาก อาการตามระบุข้างต้น ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย
ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ สถานศึกษาที่พบเด็กเป็นโรคมือเท้าปาก รักษาความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆสิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกที่สุด จะต้องหมั่นสังเกตอาการ หากลูกมีอาการมือเท้าปาก ไม่มีไข้ แต่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที
เกร็ดสุขภาพ : สัญญาณอันตรายในการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก ไม่มีไข้ อาการจะไม่รุนแรง แต่อาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ประมาณ 1 ต่อ 2,000-10,000 ราย ซึ่งได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางสมอง เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ ซึม สับสน อัมพาตแขนขาอ่อนแรง ชักเกร็งกระตุก มือหรือตัวสั่น เดินเซ เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจวายและน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจเร็วผิดปกติ หอบเหนื่อย เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่สามารถทำนายได้ว่าผู้ป่วยรายใดจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ผู้ปกครองจึงต้องสังเกตอาการบุตรหลาน และหากมีสัญญาณอันตรายต่อไปนี้ได้แก่ มีไข้สูงนานเกิน 2 วัน อาเจียนมาก ซึม มือกระตุกคล้ายผวา เดินเซ ตากระตุก หายใจหอบเหนื่อยควรรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากมีอาการดังที่กล่าวมา ให้รีบพาบุตรหลานพบแพทย์ทันที
โรคมือเท้าปากนั้นเป็นโรคที่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เหมือนภูมิแพ้ในเด็ก สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกจากลักษณะอาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะในรายที่มีตุ่มพองและแผลในปากร่วมกับตุ่มพองที่มือและเท้า ควรพบแพทย์/ทันตแพทย์เพื่อการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : chulalongkornhospital.go.th, medicalcenter.kmitl.ac.th, pidst.or.th
Featured Image Credit : freepik.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ