X

โรคกลัวความรัก philophobia มีจริงเหรอ ? อาการเป็นแบบไหน รักษาได้หรือไม่ !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคกลัวความรัก philophobia มีจริงเหรอ ? อาการเป็นแบบไหน รักษาได้หรือไม่ !

มีใครกลัวความรักบ้าง เป็นไปได้เหรอ  จะมีโรคกลัวความรักได้ยังไง มีใครที่ไม่อยากมีความรักหรือถูกรักบ้าง ความจริงข่าวร้ายก็คือ โรคกลัวความรัก เป็นโรคที่มีอยู่จริงค่ะ แต่อย่าค่ะ อย่าเพิ่งกลัว อย่าเพิ่งทึกทัก ว่าเราเป็นโรคนี้กันไหมนะ แค่เราระวังตัวยังไม่อยากตกหลุมรักใครง่ายๆ  แค่รอเจอคนที่ใช่จริงๆ เราแค่ช่างเลือก ไม่ใช่เรากลัวความรักสักหน่อย โรคกลัวความรัก จริงๆ เป็นยังไง ตามมาดูกันค่ะ

  • โรคกลัวความรัก philophobia คืออะไร ?

โรคกลัวความรัก philophobia เป็นภาวะอย่างหนึ่ง ที่ทางการแพทย์จัดอยู่ในกลุ่มภาวะกลัวแบบเฉพาะโรคกลัวต่างๆ มีมากมายหลายอย่าง บางคนกลัวสัตว์ กลัวงู กลัวกิ้งกือ  กลัวสิ่งของ  หรือแม้แต่กลัวสิ่งที่คนทั่วไปไม่กลัว  เช่น กลัวปลาทู  กลัวเชือก ส่วนอีกบางกลุ่มก็กลัวสถานที่ กลัวสถานการณ์บางอย่าง ก็มี  เช่น กลัวความสูง กลัวที่แคบ กลัวการเข้าสังคม

โรคกลัวความรัก philophobia,  กลัวความรัก

คำว่า  “philos,” เป็นภาษากรีก แปลว่า  ความรัก ส่วนคำว่า phobia ที่ภาษาแพทย์ใช้ห้อยท้ายภาวะกลัวต่างๆ เช่น กลัวความสูง (Acrophobia) กลัวแมงมุม (Arachnophobia) กลัวสังคม (social phobia) มาจากคำว่า  “Phobos ,”  แปลตรงๆ ตัวว่ากลัว  Philophobia ก็เลย แปลได้ว่า a fear of love

เกร็ดสุขภาพ : แจก Tips ก้าวผ่านความกลัวที่จะมีรัก
1. ซื่อสัตย์กับตัวเองว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้กลัว
2. เข้าใจความรู้สึกตัวเอง กลัว หรือมีเหตุผลอื่นที่ไม่ควรสานต่อความสัมพันธ์
3. อดีตจบไปแล้ว คนที่กำลังคบ ไม่ใช่แฟนเก่า อย่าเหมารวม
4. ไม่เป็นไรหรอกที่จะเจ็บปวดบ้าง
5. ต้องใช้เวลา อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป

โรคกลัวความรัก philophobia, กลัวความรัก

โรคกลัวความรัก philophobia รวมความถึงการกลัวความรักในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลัวการตกหลุมรัก กลัวจะถูกรัก กลัวที่จะมีความสัมพันธ์  ไม่กล้าสานความสัมพันธ์   วิตกกังวลว่าจะไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ไว้ได้ ไม่อยากมีความรัก  กลัวรักทำร้าย  ซึ่งความกลัวความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นได้  ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นโรค ต่อเมื่ออาการกลัวรุนแรงมากไป จนส่งผลให้มีอาการทางกาย ทางจิตที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ฟังเหตุฟังผล ทางการแพทย์ถึงจะถือว่าเป็นโรคกลัวความรักที่ต้องได้รับการดูแลและบำบัด ส่วนอาการที่ชี้บ่งว่าป่วยด้วยโรคกลัวความรักแล้วนั้น เป็นอย่างไรกันบ้าง ลองมาเช็คกันดูค่ะ

  • อาการของโรคกลัวความรัก philophobia

อาการของความกลัวจะแสดงออกแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม หลายคนที่มีประสบการณ์ความหวาดกลัวความรักมักจะเป็นผู้ที่ 

  1. ขาดความสัมพันธ์ใกล้ชิด เพราะจะหลีกเลี่ยงอยู่เสมอ ไม่กล้าที่จะเริ่มความสัมพันธ์ใดๆ 
  2. รู้สึกกังวลในความสัมพันธ์เสมอ

ในสถานการณ์ความสัมพันธ์ หรือเมื่อคิดถึงความสัมพันธ์แค่นั้น อาจจะเกิดอาการความกลัวแสดงออกทางกาย เช่น

  1. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว 
  2. หายใจตื้น
  3. อาการตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลซึ่งอาจรวมถึงอาการเจ็บหน้าอก
  4. คลื่นไส้ มวนท้อง อาเจียน 
  5. เป็นลมหมดสติ 
  6. ตัวสั่น 
  7. เหงื่อออกมือ เท้า
โรคกลัวความรัก philophobia, กลัวความรัก
  • แล้วอะไรคือสาเหตุให้เกิดโรคกลัวความรัก philophobia ?

โรคกลัวความรักมีเหตุปัจจัยกระตุ้นหลากหลายสาเหตุ คนที่ประสบเหตุการณ์ หรือมีประสบการณ์ชีวิตแบบเดียวกันนั้นตอบสนองในระดับที่แตกต่างกันไป บางคนสามารถที่จะผ่านพ้นมันได้อย่างดี  บางคนผ่านมาอย่างเจ็บปวด แต่สามารถยืนหยัดและไม่ส่งผลกระทบต่อเนื่อง แต่มีบางส่วนที่ไม่สามารถขจัดออกจากจิตใต้สำนึก จนดำเนินต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ และส่งผลต่อชีวิตทางสังคม

  • ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคกลัวความรัก philophobia ได้แก่อะไรบ้าง ?
  1. ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ

ประสบการณ์ที่ไม่ดีมาก่อน ประสบการณ์ความเจ็บปวดจากความรัก มักจะมีแนวโน้มอยากหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ครั้งใหม่ๆ หลีกเลี่ยงคำมั่นสัญญาใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดอีกครั้ง คนที่เคยถูกทอดทิ้งตั้งแต่ยังเป็นเด็ก อาจจะระวังมากที่จะเข้าใกล้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดเพราะกลัวโดนทอดทิ้งอีกครั้ง  แต่การตอบสนองด้วยการหลีกเลี่ยง ยิ่งหลีกยิ่งสร้างความกลัวให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถที่จะสานสัมพันธ์กับใครๆ ได้ 

เด็กที่เติบโตในบ้านที่มีการทารุณกรรมทางกาย และถือว่าการนอกใจเป็นเรื่องปกติ อาจเติบโตขึ้นมากลัวที่จะเริ่มสร้างครอบครัวและมีครอบครัวของตัวเอง  นอกจากนั้นอาจจะเป็นความสัมพันธ์ในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางร่างกายหรือทางอารมณ์ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคกลัวความรัก Philophobia ได้

โรคกลัวความรัก_philophobia, กลัวความรัก
  1. การถูกปฏิเสธหรือการหย่าร้าง

ความสัมพันธ์แบบโรแมนติก แต่จบลงด้วยไปต่อกันไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกระหว่างที่คบหา หรือการหย่าร้าง ทำให้เจ็บปวดมาพร้อมๆ กับความอับอายและความรู้สึกที่หลากหลาย  มีผลให้อยากหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ  แม้ว่าความสัมพันธ์นั้นจะไม่ได้นำไปสู่การแต่งงาน การหย่าร้าง การเลิกราก็ตาม

  1. บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม

ประเพณีโบราณอย่างการคลุมถุงชน หรือการแต่งงานเพื่อธุรกิจครอบครัว การถูกบังคับให้ใช้ชีวิตกับคนที่แทบไม่รู้จัก ไม่ต้องพูดถึงความรัก ที่ไม่ได้ตามมาตามคาดหวัง  สิ่งต่างๆ กลายเป็นเรื่องยากเมื่อไม่สามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะกลัวความรักจากเหตุการณ์นี้มากกว่าผู้ชาย หรือบางทีโรคกลัวความรักอาจเกิดขึ้นจากความเชื่อทางศาสนาที่ห้ามไม่ให้มีความรัก หรือแม้แต่การถูกห้ามความรักตามเพศนิยมของตนก็เป็นได้

  • การรักษาโรคกลัวความรัก Philophobia

ตระหนักก็รักษาได้ แต่โชคร้ายที่หลายคน ไม่รู้ว่ากำลังเผชิญกับโรคอยู่ และกลัวการไปพบแพทย์ หรือปรึกษาทางจิตเวช!

การบำบัดหรือการรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวความรัก  นักบำบัดจะช่วยทบทวนความสัมพันธ์ในอดีตเพื่อระบุว่าอะไรทำให้เกิดภาวะกลัวความรัก ช่วยฝึกฝนการผ่อนคลายด้วยเทคนิครูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยให้รู้สึกสบายใจกับการออกเดทและความสัมพันธ์

โรคกลัวความรัก_philophobia, กลัวความรัก

นักบำบัดอาจใช้การบำบัดพฤติกรรมทางความคิด (CBT – Cognitive behavioural therapy) เพื่อช่วยให้สังเกตเห็นรูปแบบความคิดและนิสัยที่ทำให้กลัวที่จะมีความสัมพันธ์ หรืออาจใช้การบำบัดด้วยการ Desensitization คือการค่อยๆให้เผชิญกับสถานการณ์หรือสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะกลัว เพื่อช่วยให้ปรับตัว เคยชินจนไม่ไวต่อสิ่งเร้านั้นๆ

การบำบัดด้วย Hypnotherapy  การสะกดจิต ที่เหมือนกับการทำสมาธิอย่างลึก ให้จินตนาการว่าควบคุมตัวเองให้ทำตามความต้องการ อย่างเช่น ไม่กลัว หรือ มีความสุขกับความรัก  ก็เป็นที่นิยมและได้ผลดี  ส่วนการให้ยา กลุ่มคลายเครียด คลายวิตกกังวล  เป็นเพียงการรักษาหนึ่งที่แพทย์ใช้ร่วมกับการบำบัดค่ะ

เกร็ดสุขภาพ : ดูแลตนเองและคนรอบข้างอย่างไรเพื่อห่างไกลโรคกลัวความรัก
1. ประเมินประวัติความสัมพันธ์เพื่อดูว่าความเจ็บปวดในอดีตทำให้คุณกลัวความสัมพันธ์ใหม่หรือไม่
2. ระบุเสียงเชิงลบในหัวของคุณที่ขัดขวางไม่ให้คุณรู้สึกมีความสุขในความสัมพันธ์ กำจัดมันทิ้งไป
3. ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกถึงอารมณ์ที่ยากลำบาก นั่นคือวิธีที่คุณสามารถก้าวผ่านมันไปได้
4. ประเมินความคิดอุปาทานที่คุณมีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ คุณมโนไปเองไหมนะ
5. ค้นหาว่าอะไรขัดขวางไม่ให้คุณเปิดใจรับความสัมพันธ์ มันอาจจะเรื่องเล็กน้อยที่สามารถปล่อยผ่านได้

ทีนี้ก็เข้าใจโรคกลัวความรัก Philophobia กันบ้างแล้วนะคะ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และไปปรับใช้กับความสัมพันธ์อื่นๆได้ด้วย ส่วนคนที่ เป็น โรค กลัวการอยู่คนเดียว  ไม่มีปัญหาเรื่องกลัวความรัก ฝากเป็นความรู้ไปดูแลเพื่อนๆและคนใกล้ชิดกันค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : medicinenet.com, webmd.com, medicalnewstoday.com, brides.com, .psychologytoday.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save