X

ปัสสาวะเล็ด ชาย บอกสัญญาณสุขภาพอะไรบ้าง ?!

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

ปัสสาวะเล็ด ชาย บอกสัญญาณสุขภาพอะไรบ้าง ?!

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือที่เรียกกันอย่างเข้าใจว่าฉี่เล็ด คือการสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ เป็นปัญหาที่พบบ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิงโดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น ความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ปัสสาวะรั่วเป็นครั้งคราวเมื่อคุณไอหรือจาม ไปจนถึงการปัสสาวะอย่างฉับพลันและรุนแรงจนคุณไปห้องน้ำไม่ทัน หากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันของคุณอย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ เพราะภาวะปัสสาวะเล็ดนั้นเป็นสัญญาณในการบ่งบอกโรคได้ วันนี้เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะปัสสาวะเล็ด ชาย ว่าอันตรายแค่ไหน ต้องระวังอะไรบ้าง ที่ผู้ชายควรรู้กันค่ะ

ปัสสาวะเล็ด ชาย สัญญาณเตือนสุขภาพที่ควรระวัง

ปัสสาวะเล็ด ชาย, ฉี่เล็ด

เมื่อคุณมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ กระเพาะปัสสาวะของคุณไม่สามารถอั้นหรือปล่อยปัสสาวะตามที่ควรจะเป็น ซึ่งหมายความว่าคุณมักจะปัสสาวะรั่วโดยไม่ได้ตั้งใจ ปัสสาวะเล็ด ชายนั้นอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุ ได้แก่ สมองของคุณส่งสัญญาณกระเพาะปัสสาวะไม่ถูกต้อง มีการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือกล้ามเนื้อรอบกระเพาะปัสสาวะทำงานได้ไม่ดี ซึ่งภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีหลายประเภท และพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มักเกิดขึ้นบ่อยขึ้นในวัยชรา แต่สามารถจะรักษาได้

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายคืออะไร ?

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะเล็ด ชาย คือการรั่วไหลของปัสสาวะโดยไม่ได้ตั้งใจ มันไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการของปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ชาย เนื่องจากไตผลิตปัสสาวะและเก็บไว้ในถุงที่ทำจากกล้ามเนื้อเรียกว่ากระเพาะปัสสาวะ ท่อที่เรียกว่าท่อปัสสาวะจะนำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมากและองคชาตสู่ภายนอกร่างกาย รอบท่อนี้เป็นวงแหวนของกล้ามเนื้อที่เรียกว่ากล้ามเนื้อหูรูดทางเดินปัสสาวะ ในขณะที่กระเพาะปัสสาวะเต็มไปด้วยปัสสาวะนั้น สัญญาณประสาทจะบอกให้กล้ามเนื้อหูรูดปิดปากขณะที่กระเพาะปัสสาวะผ่อนคลาย เส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะรั่วออกจากร่างกาย หรือเกิดอาการฉี่เล็ดนั่นเอง

สาเหตุภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ปัสสาวะเล็ด ชาย, ฉี่เล็ด

ปัสสาวะเล็ด ชายอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. หากกระเพาะปัสสาวะบีบผิดเวลา หรือบีบแรงเกินไป ปัสสาวะอาจไหลออกมาได้
  2. หากกล้ามเนื้อบริเวณท่อปัสสาวะเสียหายหรืออ่อนแรง ปัสสาวะก็อาจรั่วได้ แม้ว่าคุณจะไม่มีปัญหากับการบีบกระเพาะปัสสาวะผิดเวลาก็ตาม
  3. หากกระเพาะปัสสาวะของคุณไม่มีพื้นที่ว่าง แสดงว่าคุณมีปัสสาวะมากเกินไปในกระเพาะปัสสาวะ และหากกระเพาะปัสสาวะเต็มเกินไป ปัสสาวะจะรั่วไหลออกมาเมื่อคุณไม่ต้องการ
  4. หากมีสิ่งกีดขวางท่อปัสสาวะ ปัสสาวะสามารถสะสมในกระเพาะปัสสาวะได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วไหลหรือปัสสาวะเล็ด

อาการปัสสาวะเล็ดชาย สัญญาณเตือนโรค

ปัสสาวะเล็ด ชาย, ฉี่เล็ด

ปัญหาปัสสาวะเล็ด ชาย มักพบได้บ่อยในผู้ชายช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือในช่วงวัยทองผู้ชาย เมื่อไอ จาม แล้วมีอาการฉี่เล็ด หรือเมื่อปวดปัสสาวะแล้วราดทันทีไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ทัน สาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ดราดนี้เกี่ยวข้องกับโรคอะไร ? และมีอาการอะไรบ้าง

อาการที่พบคือ

  • ปวดปัสสาวะแล้วกลั้นไม่ได้ ต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที หรือมีการปัสสาวะราดไม่สามารถไปห้องน้ำได้ทัน
  • ปวดปัสสาวะบ่อยและถี่ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • เมื่อปวดปัสสาวะ ต้องมีการเบ่งอย่างแรงถึงจะออก และปัสสาวะไม่สุด มีการไหลๆ หยุดๆ ตลอดเวลา
  • เมื่อไอ จาม หัวเราะ แล้วมีปัสสาวะเล็ดออกมาเป็นประจำ

หากคุณมีอาการบ่งชี้เหล่านี้ หมายถึงมีการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ ซึ่งจะเป็นสัญญาณบอกโรคว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นต่อมลูกหมากโต ซึ่งในผู้ชายจะมีต่อมลูกหมากที่อยู่ถัดจากกระเพาะปัสสาวะ และมันทำหน้าที่ในการช่วยกลั้นปัสสาวะเอาไว้ ต่อมลูกหมากมักจะโตอย่างรวดเร็วเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป และไปกดและเบียดกับท่อปัสสาวะของคุณ ทำให้เกิดการบีบตัวเร็วขึ้นเพื่อขับปัสสาวะออกมา เมื่อกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานหนักกว่าปกติ จึงทำให้ไวต่อการปวดปัสสาวะ รวมถึงเมื่อกล้ามเนื้อปัสสาวะเกิดอ่อนล้า ก็จะส่งผลให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และปัสสาวะก็จะไหลๆ หยุดๆ นั่นเอง

เกร็ดสุขภาพ : เพื่อเป็นการสังเกตตนเอง แนะนำให้ทำการจดบันทึกการปัสสาวะ ว่าในแต่ละวันคุณดื่มน้ำมากแค่ไหน จำนวนครั้งที่ปัสสาวะ และปริมาณปัสสาวะที่ออกมา รวมถึงจดบันทึกด้วยว่าในแต่ละครั้งที่ปัสสาวะออกมานั้นเป็นความต้องการที่จะปัสสาวะโดยธรรมชาติ หรือเป็นอาการปัสสาวะเล็ด รวมถึงจดจำนวนครั้งของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ด้วย เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยอาการได้อย่างถูกต้อง และมีแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม

ปัสสาวะเล็ด ชาย มีการรักษาอย่างไร ?

ปัสสาวะเล็ด ชาย, ฉี่เล็ด

การรักษาปัสสาวะเล็ด ชาย ขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะกลั้นปัสสาวะและผลกระทบต่อชีวิตคุณว่ามากน้อยเพียงใด การรักษาอาจรวมถึงการใช้ยา การออกกำลังกายง่ายๆ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน รวมถึงในบางคนต้องผ่าตัด โดยแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ได้แก่

  • ฝึกกล้ามเนื้อเชิงกรานให้แข็งแรง วิธีนี้จะใช้ในการรักษาผู้ที่มีปัญหาไอ จาม แล้วมีปัสสาวะเล็ดราดออกมา
  • รักษาด้วยการใช้ยา วิธีนี้จะใช้รักษาผู้ที่มีปัญหาปวดปัสสาวะรุนแรงแล้วเล็ดราด ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ทัน
  • ผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดรักษาทำได้ไม่ยาก และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว แพทย์อาจเลือกวิธีนี้ในกรณีที่รักษาทั้งสองวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล หรือมีอาการที่หนักจนกระทบการใช้ชีวิต

นอกจากนี้ยังมีบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้ที่บ้านเพื่อดูแลตนเองและรักษาอาการปัสสาวะเล็ด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และปรับพฤติกรรม ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เช่น ลดเครื่องดื่มคาเฟอีน อย่างกาแฟและชา เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
  2. หลีกเลี่ยงหรืองดเครื่องดื่มที่มีฟอง เช่น โซดา และจำกัดแอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 1 แก้ว
  3. กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก
  4. พยายามหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ซึ่งการไม่สูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงด้วยนะคะ
  5. รักษาน้ำหนักให้คงที่ เพื่อดีต่อสุขภาพ

เกร็ดสุขภาพ : เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ ? หากคุณมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่บ่อยและถี่ จนทำให้คุณจำกัดกิจกรรมและจำกัดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะกลัวมีอาการปัสสาวะราดในที่สาธารณะ เริ่มมีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หนักขึ้น จนส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของคุณ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุขณะรีบเข้าห้องน้ำ และรวมถึงอาการร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาการปัสสาวะเล็ดนั้นสามารถรักษาได้ค่ะ

หากคุณมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะเล็ด ชาย อย่าอายที่จะบอกแพทย์ เพราะคนส่วนใหญ่ที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถช่วยหรือรักษาให้หายขาดได้ ก่อนที่จะกลายไปเป็นต่อมลูกหมากโต ที่เสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ต่อสุขภาพร่างกายต่อไป รวมถึงเมื่อคุณมีอายุมากขึ้นหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่าละเลยการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะนอกจากจะป้องกันโรคต่อมลูกหมากโตที่เกิดจากอาการปัสสาวะเล็ดได้แล้ว ยังช่วยให้รู้เท่าทันและระวังโรคงูสวัดได้อีกด้วย โรคงูสวัด เกิดจากอะไรนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของเราเลยค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : uofmhealth.org, healthlinkbc.ca, mayoclinic.org, paolohospital.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save