“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
ตาสีเหลือง เกิดจากอะไร ?! ใช่ดีซ่านหรือไม่ มาหาคำตอบกัน !
ปกติแล้วดวงตาของคนเราจะมีสีขาว แต่เมื่อมันเปลี่ยนกลายเป็นสีเหลืองนั้น นั่นหมายถึงมีอาการผิดปกติของร่างกาย ซึ่งตาขาวอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อร่างกายของเรามีสารเคมีที่เรียกว่าบิลิรูบินมากเกินไป ซึ่งเป็นสารสีเหลืองที่ก่อตัวเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ตับของเราก็จะรองบิลิรูบินออกจากเลือด และใช้เพื่อสร้างของเหลวที่เรียกว่าน้ำดีเพื่อช่วยในการขับของเสียออกจากร่างกาย แต่ถ้ามีบิลิรูบินในเลือดมากเกินไปหรือตับไม่สามารถกำจัดมันได้เร็วพอ บิลิรูบินจะสะสมอยู่ในร่างกายและอาจทำให้ดวงตาของเราเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้นั่นเอง ซึ่งจะเรียกกันว่า โรคดีซ่าน แต่ทั้งนี้อาการตาเหลืองไม่ได้เป็นดีซ่านอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีสาเหตุและอาการอื่นๆ อีก เรามารู้จักกันว่า ตาสีเหลือง เกิดจากอะไรได้บ้าง และมีวิธีแก้ตาเหลืองอย่างไร
สาเหตุของตาสีเหลืองมีอะไรบ้าง ? มารู้จักพร้อมวิธีรักษากัน
การมีดวงตาสีเหลือง ไม่ได้หมายถึงการเป็นดีซ่านเสมอไป เพราะหากมีอาการเหลืองแค่ที่ดวงตาไม่ได้เหลืองทั้งตัว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เพราะบางครั้งนั่นอาจเป็นสัญญาณของบางสิ่งที่ร้ายแรงกว่านั้น มารู้ถึงสาเหตุ 6 ประการที่อาจทำให้ดวงตาของเราเป็นสีเหลืองกันค่ะ
โรคตับอักเสบ
โรคตับอักเสบเกิดขึ้นเมื่อตับของคุณอักเสบ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไวรัสที่ติดเชื้อในเซลล์ตับ เช่น ตับอักเสบเอ บี หรือซี การติดเชื้ออาจอยู่ในระยะเวลาสั้นแบบเฉียบพลัน หรือระยะยาวแบบเรื้อรัง ซึ่งหมายความว่าจะคงอยู่เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โรคตับอักเสบทำลายตับจึงไม่สามารถกรองบิลิรูบินได้เช่นกัน จึงสามารถนำไปสู่โรคดีซ่าน และทำให้ตาสีเหลืองได้
โรคนิ่ว
ชิ้นส่วนที่แข็งเหมือนก้อนกรวดเหล่านี้ก่อตัวขึ้นในถุงน้ำดี ซึ่งเป็นอวัยวะเล็กๆ ที่อยู่ใต้ตับ โรคนิ่วเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของท่อน้ำดีอุดตัน และหากนิ่วในถุงน้ำดีอุดตัน บิลิรูบินจะสะสมในเลือดทำให้ตาขาวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ ซึ่งการป้องกันการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีนั้น สามารถใช้วิธีการเดียวกับการรักษาลำไส้อักเสบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินได้ค่ะ
ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
หากคุณดื่มหนักเป็นเวลานาน โดยปกติอย่างน้อย 8 ถึง 10 ปี อาจทำให้ตับถูกทำลายอย่างร้ายแรง ในบางคนอาจทำให้เกิดการอักเสบที่ทำลายเซลล์ตับได้ เมื่อเวลาผ่านไปรอยแผลเป็นอาจมาแทนที่เนื้อเยื่อตับที่แข็งแรงทำให้ตับทำงานได้ยากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือดื่มจัดมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับจากแอลกอฮอล์ และส่งผลให้ตาสีเหลืองได้นั่นเอง
เกร็ดสุขภาพ : โรคไขมันพอกตับที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นอีกสาเหตุในการทำให้ตาเป็นสีเหลืองได้ เมื่อไขมันสะสมในตับมากเกินไป แม้ว่าคุณจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ดื่มเลยก็ตาม เรียกว่าโรคตับไขมันไม่ติดแอลกอฮอล์ ภาวะไขมันพอกตับอักเสบที่ไม่มีแอลกอฮอล์ นำไปสู่การอักเสบของตับและการเกิดแผลเป็น หรือโรคตับแข็งได้ค่ะ
โรคโลหิตจาง hemolytic
โรคโลหิตจาง hemolytic เป็นภาวะเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเร็วเกินไป ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาด เรียกว่าโรคโลหิตจาง ตาขาวอาจกลายเป็นสีเหลืองเพราะระดับบิลิรูบินเพิ่มขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัวเร็วเกินไป
ปฏิกิริยาต่อการถ่ายเลือด
หากคุณได้รับเลือดผิดประเภท เช่น หากคุณมีเลือดกรุ๊ป A แต่ได้รับเลือดกรุ๊ป B ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอาจทำลายเลือดที่ไม่ถูกต้อง ปล่อยบิลิรูบินออกมาและทำให้เกิดโรคดีซ่านและตาสีเหลืองเกิดขึ้น แต่สาเหตุนี้จะเกิดขึ้นได้ยากเนื่องจากมีการตรวจเลือดก่อนเสมอ แต่ถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้
มาลาเรีย
หากคุณได้รับเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียจากการถูกยุงกัดหรือจากการสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อ เซลล์เม็ดเลือดอาจแตกหรือเสียหายและถูกกรองโดยตับหรือม้ามของเรา การสูญเสียเซลล์เม็ดเลือดแดงทำให้เกิดโรคโลหิตจางและโรคดีซ่านได้ และส่งผลให้ตาขาวกลายเป็นสีเหลืองเช่นกัน
สาเหตุของตาสีเหลืองมีอะไรบ้าง ? มารู้จักพร้อมวิธีรักษากัน
การรักษาโรคดีซ่านและวิธีแก้ตาเหลืองจากสาเหตุอื่นๆ นั้น จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร เช่น หากนิ่วในถุงน้ำดีอุดตันท่อน้ำดี อาจต้องใช้ยาหรือทำการผ่าตัดทิ้ง หากเป็นโรคตับอักเสบ แพทย์อาจให้ยาเพื่อต่อสู้กับไวรัส หรืออาจให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกินยาบางชนิด ส่วนถ้าเกิดจากโรคดีซ่าน แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาสาเหตุหรือลดอาการ รวมถึงยาต้านไวรัสสามารถช่วยรักษาการติดเชื้อไวรัสในตับได้ สำหรับคนที่มีแผลเป็นที่ตับที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการสัมผัสกับสารเคมีหรือสารพิษที่ส่งผลต่อตับ สามารถรักษาได้โดยการกำจัดแหล่งที่มา ลดหรือหยุดดื่มทั้งหมด หรือค้นหาสิ่งที่ทำให้ตับถูกทำลายและนำตัวเราออกจากสิ่งแวดล้อมนั้น นอกจากนี้การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปนอกจากจะทำให้มีความเสี่ยงในการตาเหลืองน้อยลงแล้ว ยังเป็นหนึ่งในการบำรุงรักษาไตของเราอีกด้วย
เกร็ดสุขภาพ : มีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้ตาสีเหลือง ตัวอย่างเช่น ความคิดที่ว่าการกินอาหารบางชนิดอาจทำให้ตาเหลืองหรือคนตาเหลืองมักมีอาการเมาสุรา การกินอาหารที่มีวิตามินเอสูง (เบต้าแคโรทีน) มากเกินไปอาจทำให้ผิวเหลืองได้ อาหารบางชนิด ได้แก่ แครอท สควอช และแตง ซึ่งอาจส่งผลต่อผิวหนัง แต่ไม่ทำให้ตาเหลือง เพราะตาเหลืองเป็นผลจากการสะสมของบิลิรูบินในกระแสเลือดที่มีมากเกินไป หรือเพราะตับของคุณไม่สามารถจัดการมันออกไปได้เท่านั้น
ดวงตาสีเหลืองมักเป็นผลมาจากโรคดีซ่าน ซึ่งโรคดีซ่านไม่ใช่เรื่องใหญ่เสมอไป แต่สาเหตุบางประการดังกล่าวข้างต้นอาจส่งผลต่อชีวิตหรือทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้ ควรไปพบแพทย์หากสังเกตเห็นอาการตาเหลืองอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้อง เหนื่อยล้า และมีไข้ ที่อาจไม่ใช่อาการของคนเป็นไทรอยด์ เพื่อได้รับการรักษาและวิธีแก้ตาเหลืองที่ถูกต้องค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : my.clevelandclinic.org, healthline.com, verywellhealth.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ