X

อาการแพ้ภูมิตัวเองเป็นยังไง ? เช็กตัวเองพร้อมรู้จักแนวทางรักษากัน !

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

อาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นอย่างไร ? เช็กตัวเองพร้อมรู้จักแนวทางรักษากัน !

โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า โรคพุ่มพวง เป็นโรคเรื้อรังที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยรวมถึงเด็กด้วย โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 15 ถึง 44 ปี จะมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเป็นโรคเอสแอลอี หรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง และผู้หญิงทุกวัยได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชาย เพราะฉะนั้น เพื่อการใส่ใจดูแลสุขภาพของเรา หากเคยรู้เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อากาศ สาเหตุที่เกิดกันไปแล้ว คราวนี้เรามารู้จักถึงโรคภูมิแพ้ตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมกันว่า อาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นยังไง มีวิธีรักษาและดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง มาอัปเดตสุขภาพของตัวเราเองกันค่ะ

อาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีอะไรบ้าง สังเกตตนเองเพื่อรู้เท่าทัน

อาการแพ้ภูมิตัวเอง, ภูมิแพ้ตัวเอง อาการ
Image Credit : medpagetoday.com

Systemic Lupus Erythematosus (SLE) หรือ โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดอาการแพ้ภูมิตัวเองคือ การอักเสบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น กระดูกอ่อนและเยื่อบุของหลอดเลือด ซึ่งให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่โครงสร้างทั่วร่างกาย การอักเสบที่เกิดจากโรคเอสแอลอีสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ข้อต่อ เซลล์เม็ดเลือด สมอง ไต ปอด หัวใจ และระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งภูมิแพ้ตัวเอง อาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

เกร็ดสุขภาพ : เมื่อเวลาผ่านไปโรคภูมิแพ้ตัวเองอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวและสามารถสร้างความเสียหายในระบบต่างๆ ทั่วร่างกายได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้อาจรวมถึงลิ่มเลือดและการอักเสบของหลอดเลือดหรือหลอดเลือดอักเสบ การอักเสบของหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจวาย การอักเสบของเนื้อเยื่อปอดและเยื่อบุปอด มีปัญหาเรื่องความจำ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีอาการชัก ไตอักเสบ การทำงานของไตลดลง และไตล้มเหลว เป็นต้น

  • สาเหตุของโรคภูมิตัวเอง

อาการแพ้ภูมิตัวเอง, ภูมิแพ้ตัวเอง อาการ

ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคภูมิตัวเอง แต่มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ ได้แก่

  1. พันธุศาสตร์ แม้ว่าโรคนี้ไม่ได้เชื่อมโยงกับยีนบางตัว และไม่ได้เป็นโรคทางพันธุกรรม แต่ผู้ที่เป็นโรคภูมิตัวเองมักมีสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะนี้ จึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงได้
  2. สิ่งแวดล้อม ตัวกระตุ้นสิ่งแวดล้อมอาจรวมถึง รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ยาบางชนิด ไวรัส ความเครียดทางร่างกายหรืออารมณ์ และการบาดเจ็บ
  3. เพศและฮอร์โมน โรคภูมิแพ้ตัวเองจะส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงอาจมีอาการแพ้ภูมิตัวเองที่รุนแรงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และมีประจำเดือน ทำให้แพทย์เชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนเพศหญิงอาจมีบทบาทในการทำให้เกิดโรคภูมิตัวเองได้
  • อาการแพ้ภูมิตัวเอง

อาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง, ภูมิแพ้ตัวเอง อาการ

ภูมิแพ้ตัวเอง อาการจะคล้ายกับอีสุกอีใส อาการที่ว่าอาจปรากฏเป็นอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สบาย เป็นไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด และส่วนใหญ่ยังมีอาการปวดข้อ ซึ่งมักส่งผลต่อข้อต่อเดียวกันทั้งสองด้านของร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนแรงอีกด้วย นอกจากนี้ปัญหาผิวพบได้บ่อยในโรคเอสแอลอี ลักษณะเฉพาะคือผื่นแดงแบนๆ ตามแก้มและสันจมูก เรียกว่า ผื่นผีเสื้อ เนื่องจากรูปร่างและลักษณะ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เจ็บหรือคัน มักปรากฏหรือเด่นชัดขึ้นเมื่อสัมผัสกับแสงแดด ส่วนปัญหาผิวอื่นๆ ที่อาจเป็นอาการแพ้ภูมิตัวเอง ได้แก่ แคลเซียมที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง หลอดเลือดอักเสบในผิวหนัง และจุดสีแดงเล็กๆ ที่เรียกว่าพีเทเชีย เกิดจากการขาดแคลนเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ซึ่งทำให้เลือดออกใต้ผิวหนังและอาจมีผมร่วง แผลพุพองในเยื่อบุที่ชื้นของปาก จมูก หรือที่อวัยวะเพศได้อีกด้วย

  • โรคภูมิแพ้ตัวเองรักษาอย่างไร

อาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง, ภูมิแพ้ตัวเอง อาการ

โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะต่อสู้กับการติดเชื้อและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง โรคแพ้ภูมิตัวเองเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันโจมตีร่างกาย ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่อาจมีอาการแย่ลงเป็นระยะสลับกับช่วงเวลาที่มีอาการไม่รุนแรง แต่ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีส่วนใหญ่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ด้วยการรักษา และมีเป้าหมายของการรักษาคือการบรรเทาอาการ เนื่องจาก SLE เป็นภาวะเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง การรักษาที่มีประสิทธิภาพช่วยให้การเกิดโรคต่ำหรือมีอาการที่ลดลงได้ และการรักษาอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแพ้ภูมิตัวเองในแต่ละบุคคล แผนการรักษาจึงต้องปรับให้เหมาะสม ซึ่งการรักษาจะใช้วิธีดังต่อไปนี้

  1. ใช้ยาต้านการอักเสบสำหรับอาการปวดข้อและอาการตึง
  2. ใช้ครีมสเตียรอยด์สำหรับผดผื่น
  3. ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อลดการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
  4. ใช้ยาต้านมาเลเรียสำหรับปัญหาผิวหนังและข้อ
  5. ใช้ยาแก้โรคหรือสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับกรณีที่รุนแรงขึ้น
  6. ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยากดภูมิคุ้มกัน

เกร็ดสุขภาพ : โรคนี้สามารถรักษาได้แต่ต้องใช้เวลานานพอสมควร ต้องกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และดูแลตนเองควบคู่เพื่อไม่ให้ภูมิแพ้ตัวเอง อาการหนักขึ้นจากเดิม เช่น การกินหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด และลดความเครียด จะช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการแพ้ภูมิตัวเองได้ ควรอยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก พยายามหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เราได้รู้จักอาการแพ้ภูมิตัวเองกันไปแล้ว รวมถึงแนวทางในการรักษาและดูแลตัวเอง ลองสำรวจตัวเองกันดูนะคะว่าเรามีความเสี่ยงหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอะไรบ้างที่อาจเป็นโรคแอสแอลอีได้ เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันและทำการรักษาได้ทันท่วงที เพราะผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอีอาการมักจะค่อยๆ แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bangkokhospital.com, cdc.gov, medlineplus.gov, healthline.com

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save