“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
โทษของการนอนดึก ที่วัยรุ่นควรรู้ ก่อนที่จะสายเกินไป !
การนอนหลับให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพจิตและร่างกายของเรา แต่ก็มีหลายคนที่อดนอนหรือนอนไม่เพียงพอในแต่ละคืน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องล็อคดาวน์และเรียนออนไลน์ ทำให้เกิดพฤติกรรมการนอนดึกติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน หรืออดนอนทั้งคืนเพื่อทำการบ้าน หรือทำงานส่งอาจารย์ต่างๆ ซึ่งผลของการนอนดึกมากจะรบกวนวงจรการนอนหลับและตื่นตามธรรมชาติของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาการนอนและอาจส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพได้ด้วย และเพื่อรู้เท่าทันก่อนจะสายเกินไป เรามาดู โทษของการนอนดึก กันว่ามีอะไรบ้าง
โทษของการนอนดึก สำหรับวัยรุ่น กับผลเสียที่ได้รับที่ควรรู้ก่อนสาย
การอดนอนรวมทั้งผลของการนอนดึกนั้น เพิ่มโอกาสที่วัยรุ่นจะได้รับผลกระทบด้านลบมากมาย รวมถึงการไม่มีสมาธิ เกรดไม่ดี เกิดอาการง่วงนอน มีความวิตกกังวล และซึมเศร้าได้ เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันตนเอง ควรรู้กันว่าโทษของการนอนดึกให้ผลเสียต่อสุขภาพของเราแค่ไหนและมีอะไรบ้างค่ะ
มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
การนอนหลับอย่างเพียงพอมีส่วนโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ การเรียนรู้ และความจำ ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จในการเรียน ความสัมพันธ์ทางสังคม และการเห็นคุณค่าในตนเอง เมื่อเด็กวัยรุ่นอดนอนหรือนอนดึก โทษของการนอนดึกจะส่งผลต่อปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสนใจ และการควบคุมอารมณ์ ทำให้มีปัญหาที่ส่งผลต่ออารมณ์ได้ เช่น หงุดหงิดง่าย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเรียนรู้และไปยับยั้งความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
เสี่ยงเป็นโรคอ้วน
โทษของการนอนดึกจะมีความเสี่ยงสูงสำหรับโรคอ้วนและการควบคุมการเผาผลาญที่ไม่ดี การควบคุมฮอร์โมนและเอ็นไซม์ที่ช่วยประมวลผลไขมันและน้ำตาลนั้น จะมีความเชื่อมโยงกันกับช่วงเวลาที่เหมาะสมของการนอนหลับ และระยะการนอนหลับด้วย
ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ระยะเวลาการนอนหลับไม่ดีจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้คนที่นอนดึกและอดนอนมักจะเป็นหวัดง่าย หรือสูญเสียความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อ
เกร็ดสุขภาพ : ทำไมการนอนหลับจึงสำคัญสำหรับวัยรุ่น ? การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกวัย สำหรับวัยรุ่นแล้ว การพัฒนาจิตใจ ร่างกาย สังคม และอารมณ์ที่ลึกซึ้งนั้นต้องการการนอนหลับที่มีคุณภาพ เพราะมีประโยชน์ต่อสมองและส่งเสริมความสนใจ ความจำ และความคิดเชิงวิเคราะห์ ทำให้การคิดเฉียบแหลมขึ้น และการนอนหลับยังช่วยให้มีความคิดกว้างไกลที่สามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้ดีอีกด้วย หากวัยรุ่นนอนดึกและนอนหลับไม่เพียงพอจึงมักมีอาการง่วงนอนมากเกินไปและขาดสมาธิที่อาจส่งผลเสียต่อผลการเรียนได้ ส่วนการนอนกลางวันดีไหมนั้น หากอดนอนมาทั้งคืนการนอนกลางวันจะช่วยให้ร่างกายสดชื่นและตื่นตัวได้ โดยควรนอนประมาณ 10-30 นาที
เสี่ยงมีภาวะซึมเศร้า
ระยะเวลาการนอนหลับไม่ดีจะส่งผลต่ออารมณ์ หากวัยรุ่นอดนอนหรือนอนดึกอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ก็อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ความสิ้นหวัง และอาจเป็นสัญญาณของความคิดที่เพิ่มความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้ เพราะโทษของการนอนดึกและการอดนอนเรื้อรังทำให้เกิดความปั่นป่วนและแรงกระตุ้นทางจิตใจและร่างกายที่ควบคุมไม่ได้ มีผลทางชีวเคมีโดยตรงของการกีดกันการนอนหลับที่เกี่ยวข้องกับการกระจายตัวของสารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ เช่น เซโรโทนิน โดปามีน และนอร์เอพิเนฟริน
- ส่งผลให้สมาธิสั้น
การอดนอนและระยะเวลานอนที่ไม่เหมาะสมอาจขัดขวางความสามารถของวัยรุ่นในการควบคุมอารมณ์และความสนใจ ผลลัพธ์ที่ได้อาจคล้ายกับโรคสมาธิสั้น แม้ว่าคาเฟอีนและสารกระตุ้นอื่นๆ จะช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับชั่วคราวแต่ไม่สามารถทดแทนได้ เมื่อการควบคุมแรงกระตุ้นและปัญหาทางอารมณ์เกิดขึ้น คาเฟอีนและสารกระตุ้นจะปลุกเราชั่วคราว แต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูชั่วโมงการนอนหลับที่หายไป รวมถึงมีผลกระทบต่อความสุขทางร่างกายหรือจิตใจได้
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจของวัยรุ่น
มีผลการศึกษาในปี 2018 โดย American Academy of Pediatrics ได้สังเกตพฤติกรรมการนอนของวัยรุ่น 829 คนที่มีอายุระหว่าง 12-16 ปี พบว่าการนอนหลับไม่เพียงพอและนอนดึกเป็นประจำ ส่งผลให้เกิดโทษของการนอนดึกอย่างมาก คนที่มีระยะเวลาการนอนหลับสั้นลงและประสิทธิภาพการนอนหลับที่ต่ำลงจากการนอนดึก จะมีประวัติเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และคอเลสเตอรอล HDL ที่ถือเป็นคอเลสเตอรอลดีนั้นต่ำลงด้วย เมื่อคอเลสเตอรอล HDL ต่ำ ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจก็จะเพิ่มขึ้นนั่นเอง
- มีปัญหาด้านการตัดสินใจและพฤติกรรมเสี่ยง
โทษของการนอนดึกและอดนอนอาจส่งผลต่อการพัฒนาของสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่มีความสำคัญต่อการควบคุมพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น วัยรุ่นที่นอนหลับไม่เพียงพอมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เมาแล้วขับ ขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่ได้ใช้เข็มขัดนิรภัยเมื่อใช้รถยนต์ การใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การต่อสู้ และการถืออาวุธ ทั้งยังได้รับการระบุว่ามีแนวโน้มมากขึ้นในวัยรุ่นที่นอนน้อยเกินไปอีกด้วย ซึ่งปัญหาด้านพฤติกรรมอาจส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อชีวิตของวัยรุ่น ทั้งยังส่งผลเสียต่อผลการเรียนตลอดจนความสัมพันธ์ของพวกเขากับครอบครัวและเพื่อนฝูงอีกด้วยค่ะ
เกร็ดสุขภาพ : ในช่วงวัยรุ่นนั้นมีแนวโน้มสูงที่จะนอนดึกและนอนนานขึ้นในตอนเช้า ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นทางชีวภาพสองเท่าที่ส่งผลต่อจังหวะชีวิตและวงจรการนอนหลับและตื่นของวัยรุ่น ดังนั้น เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดีในวัยรุ่น และไม่ได้รับผลของการนอนดึก คนเราต้องนอนกี่ชั่วโมงนั้น สำหรับวัยรุ่นควรนอนหลับระหว่าง 8-10 ชั่วโมง พยายามปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ติดนิสัยนอนดึกเพราะเล่นโทรศัพท์มือถือ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอราวกับว่าสำคัญพอๆ กับการกินยา และการตื่นในเวลาเดียวกันทุกวันจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นในเวลากลางคืนอีกด้วย
สิ่งสำคัญอีกอย่างที่จะทำให้เราเข้านอนไวและไม่ติดนิสัยนอนดึกจนได้รับโทษของการนอนดึกนั้น คือการทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น การอาบน้ำอุ่น หรืออ่านหนังสือก่อนนอน การทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางที่เราสามารถฝึกตัวเองให้เชื่อมโยงกิจกรรมเหล่านี้กับการนอนหลับได้ และจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้นไม่ต้องอดนอนหรือนอนดึกอีกต่อไปค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : sleepdunwoody.com, riseandshine.childrensnational.org, health.clevelandclinic.org, medicalnewstoday.com, sleepfoundation.org
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ