“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
งาขี้ม่อน คืออะไร ? ทำความรู้จักและกินให้ถูกต้องกัน !
ใครที่เคยกินอาหารเกาหลี ญี่ปุ่น อาจจะคุ้นเคยกับใบของพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใส่ในอาหารต่างๆ ที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับใบแมงลักแต่มีขนาดใหญ่กว่า ทางญี่ปุ่นจะเรียกว่า ใบชิโสะ ส่วนทางเกาหลีจะเรียกว่า ใบแกนิบ ที่นำมากินสดและใส่ในอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนไทยเราจะเรียกว่า ใบงาขี้ม่อน ซึ่งนอกจากใบของมันแล้ว เมล็ดของมันยังนำมากินได้อีกด้วย ทั้งยังมีโภชนาการสูง และเพื่อให้รู้จักกันให้มากขึ้นว่า งาขี้ม่อน คืออะไร ? มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง มาอ่านบทความนี้จากเรากันเลยค่ะ
งาขี้ม่อน คืออะไร ? รู้จักงาขี้ม่อน ประโยชน์ดีๆ ที่ควรกิน
งาขี้ม้อน (Perilla frutescens) หรืองาขี้ม่อน คือพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ในไทยพบมากในภาคเหนือ เป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพรา โหระพา และแมงลัก สามารถกินได้ทั้งใบและเมล็ด เมล็ดของมันจะมีลักษณะเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ทรงกลม สีน้ำตาลหรือเทาคล้ายกับงา งาขี้ม่อน คือสมุนไพรที่มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง ประโยชน์ของใบถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนจีนเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งใช้ในการปรุงอาหารของชาวเอเชียเพื่อเป็นเครื่องปรุงและเป็นยาแก้พิษจากอาหารเป็นพิษ เพราะสารสกัดจากใบมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันอาการแพ้ ต้านการอักเสบ เป็นยากล่อมประสาท แก้อาการเบื่ออาหาร และป้องกันเนื้องอก จึงจัดว่างาขี้ม่อนเป็นสมุนไพรที่ทั้งใบ ก้าน และเมล็ดใช้ทำยาได้
เกร็ดสุขภาพ : งาขี้ม่อน คือสมุนไพรที่ประกอบไปด้วยสาร Rosmarinic และ Caffeic Acid ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีคุณสมบัติเป็นยากล่อมประสาท จึงช่วยบรรเทาความเครียดและความวิตกกังวลได้ จึงนิยมนำสมุนไพรนี้ไปใช้ในน้ำมันหอมระเหยเพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและปลดปล่อยความตึงเครียดได้อีกด้วย
งาขี้ม่อน ประโยชน์มีอะไรบ้าง
เมล็ดงาขี้ม่อน คือแหล่งที่ดีของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ในเมล็ดจะมีน้ำมันอยู่ประมาณ 35–45% ในขณะที่ใบของมันกลับเป็นแหล่งน้ำมันที่น้อยกว่ามาก เนื่องจากมีเพียงแค่ 0.2% เท่านั้น นอกจากนี้เมื่อเทียบกับน้ำมันจากพืชชนิดอื่น น้ำมันเมล็ดงาขี้ม่อน คือมีสัดส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 (ALA) สูงที่สุดอย่างสม่ำเสมอที่ 54–64% ส่วนประกอบของโอเมก้า 6 (กรดไลโนเลอิก) มักจะอยู่ที่ประมาณ 14% และโอเมก้า 9 (กรดโอเลอิก) ก็มีอยู่ในน้ำมันงาขี้ม่อนเช่นกัน ซึ่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเหล่านี้มีประโยชน์มากที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์และในการป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง การอักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น เรามาดูประโยชน์อื่นๆ ของงาขี้ม่อนกันว่ามีอะไรอีกบ้าง
ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
นอกจากข้าวฟ่าง สรรพคุณจะช่วยบำรุงหัวใจได้แล้ว ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในงาขี้ม่อนทำให้สมุนไพรนี้มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจได้เช่นกัน เพราะเมล็ดงาขี้ม่อนช่วยลด LDL หรือคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และเพิ่ม HDL หรือคอเลสเตอรอลที่ดีได้ ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยในการรักษาสุขภาพหลอดเลือดไม่ให้แข็งและมีแนวโน้มที่จะสะสมคราบจุลินทรีย์ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระยังช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของคอเลสเตอรอลในอาหารที่เรากิน ทำให้ไม่สะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงที่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพได้
ป้องกันมะเร็ง
เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพทั้งหมดในงาขี้ม่อน คือมีความสามารถในการป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยิ่งเราบริโภคสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสในการเป็นมะเร็งก็จะลดลง
ต้านอาการซึมเศร้าและดีต่อสมอง
เนื่องจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลังของเมล็ดงาขี้ม่อน น้ำมันจึงมีผลอย่างมากต่อศูนย์โดปามีนในสมองของเรา จึงช่วยให้เรารู้สึกมีความสุขมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและช่วยเรื่องความจำ นอกจากนี้ยังพบว่า ALA ที่พบในเมล็ดยังสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้
การจัดการอาการปวดข้อและการอักเสบ
กรดไขมันที่มีอยู่ในงาขี้ม่อน ประโยชน์ที่ดีที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อที่ปวดเมื่อยและบวมเป็นประจำ เพราะไขมันที่มีประโยชน์เหล่านั้นช่วยพยุงข้อต่อไม่ให้เจ็บปวดและอักเสบ ช่วยให้ผู้ที่อ่อนแอต่อโรคข้ออักเสบดีขึ้นได้ และมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบในร่างกายได้เหมือนกระชายขาวประโยชน์ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายได้นั่นเอง
เหมาะสำหรับโรคหอบหืด หวัด ภูมิแพ้ และหลอดลมอักเสบ
เมล็ดงาขี้ม่อนประกอบด้วยเควอซิติน ลูโอลิน กรดอัลฟาลิโนลิก และกรดโรสมารินิกจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดนี้เหมาะสำหรับการรักษาระบบทางเดินหายใจและช่วยให้หายใจสะดวก ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมการหลั่งฮีสตามีนในร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ จึงมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการและอาการแสดงของโรคภูมิแพ้ต่างๆ ได้ รวมทั้งอาการคันและน้ำตาไหล น้ำมูกไหล จาม และแม้กระทั่งหายใจหอบถี่
เกร็ดสุขภาพ : น้ำมันงาขี้ม่อนนิยมนำไปใช้ในเครื่องสำอางและเหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหา ด้วยคุณสมบัติต้านการอักเสบ สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย และความสามารถในการกักเก็บน้ำในผิวหนังได้มากขึ้น จึงทำงานได้อย่างมหัศจรรย์ในการรักษาผดผื่น สิว และช่วยกำจัดริ้วรอยและสร้างผิวที่ดูอ่อนเยาว์ขึ้นด้วยค่ะ
งาขี้ม่อนใช้กินยังไง พร้อมไอเดียเมนูแนะนำ
คนทั่วไปนิยมนำเมล็ดงาขี้ม่อนไปเป็นส่วนประกอบในอาหารและขนมต่างๆ เพราะงาขี้ม่อนสามารถบริโภคในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น เมล็ดใช้กินเปล่าๆ ใส่ผสมในคุ้กกี้ ขนมปัง หรือนำเมล็ดไปคั่วแล้วตำผสมกับข้าวเหนียวผสมเกลือ หรือที่เรียกข้าวหนุกงา รวมถึงยังสามารถนำงาขี้ม่อนไปแปรรูปเป็นของกินต่างๆ ได้อีก เช่น งาขี้ม่อนคั่ว งาขี้ม่อนแผ่น ข้าวหลามงาขี้ม้อน ข้าวเกรียบงาขี้ม่อน ไปจนถึงชางาขี้ม่อน เป็นต้น
นอกจากนี้เรายังสามารถกินงาขี้ม่อนเพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ เพราะมีการนำมาสกัดเป็นอาหารเสริมในรูปแบบแคปซูล จากการวิจัยเบื้องต้นกล่าวไว้ว่าหากกินสารสกัดงาขี้ม่อน 50 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะช่วยลดอาการของโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาลได้ รวมถึงการใช้น้ำมันเมล็ดงาขี้ม่อนอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของปอดในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดได้อีกด้วยค่ะ
ข้อควรระวัง และปริมาณในการกินที่ปลอดภัย
งาขี้ม่อนทั้งใบและเมล็ดนั้นพบว่าปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ และสามารถกินติดต่อกันได้นานถึง 8 เดือน โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายใดๆ แต่สำหรับสตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงสมุนไพรนี้เช่นเดียวกับสาหร่ายเกลียวทอง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้และเสี่ยงที่สารอาหารบางส่วนอาจส่งผ่านจากแม่ไปยังทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ การใช้น้ำมันสกัดงาขี้ม่อนหรือผลิตภัณฑ์จากงาขี้ม่อนกับผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนังและผื่นขึ้นได้ในบางคน
เราได้รู้จักกันไปแล้วนะคะว่างาขี้ม่อน คืออะไร และมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอย่างไรบ้าง แม้ว่าเราจะสามารถกินงาขี้ม่อนได้เพราะไม่อันตราย แต่เพื่อความปลอดภัยหากมีโรคประจำตัวใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด ส่วนในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกตินั้น สามารถกินงาขี้ม่อนได้ในปริมาณปกติที่อยู่ในอาหารทั่วไปได้อย่างปลอดภัยค่ะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : healthbenefitstimes.com, rxlist.com, drugs.com, pobpad.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ