“เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡
โรคแพนิค วิธีการรักษาเป็นอย่างไร? ทำความรู้จักโรคนี้ให้ดีกว่าเดิมกัน !
อาการวิตกกังวล หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า อาการแพนิค ซึ่งอารมณ์นี้เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว แต่เคยทราบไหมว่า มีโรคที่เกี่ยวกับอาการวิตกกังวลอยู่ด้วย นั่นคือ โรคแพนิค วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาสำรวจตัวเองกันว่า ตอนนี้เรามีอาการของโรคแพนิคหรือไม่ และถ้ามีเกิดอาการ โรคแพนิค วิธีการรักษา จะต้องทำอย่างไรบ้าง
โรคแพนิค หรือ โรคตื่นตระหนก (Panic Disorder) คือโรคที่ทางการแพทย์ได้ระบุไว้ว่าเป็นภาวะที่รู้สึกตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือรู้สึกตื่นตระหนกกับบางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งอาการของโรคแพนิคนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุต่างๆ ได้ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ และอาจส่งผลไปถึงยังความมั่นใจของผู้ที่ป่วยเป็นโรคแพนิคอีกด้วย เพราะเนื่องจากเมื่อเกิดอาการแล้ว ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
สาเหตุของโรคแพนิค
สาเหตุของโรคแพนิคสามารถแบ่งได้เป็นคร่าว 2 แบบ คือ
- เกิดจากฮอร์โมนที่ลดกะทันหัน
โรคแพนิคสามารถเกิดได้จากการที่ฮอร์โมนในร่างกายของเรามีการลดลงอย่างกะทันหัน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างกะทันหัน ส่งผลทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายเกิดการทำงานที่ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของการลดลงของฮอร์โมนนี้ สามารถเกิดได้จากการเสพสารเสพติด กรรมพันธุ์ หรือแม้กระทั่งเป็นความผิดปกติของฮอร์โมนเอง
- เกิดจากเหตุการณ์ที่ฝังใจ
เกิดจากเหตุการณ์ที่เคยฝังใจมาในครั้งอดีต หรือสภาพแวดล้อมที่เคยผ่านมาในอดีต ซึ่งอาจเกิดจากการเคยโดนทำร้ายร่างกาย ถูกทอดทิ้ง จึงทำให้สารเคมีในสมองเกิดอาการเสียสมดุลและนำพามาสู่โรคแพนิคได้ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด โรคแพนิค วิธีการรักษานั้นควรทำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยปะละเลยเอาไว้
- อาการของโรคแพนิคเป็นอย่างไร?
ก่อนที่เราจะทราบว่า โรคแพนิค วิธีการรักษาเป็นอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง อีกเรื่องที่ควรรู้เลยก็คือ อาการของโรคแพนิคเป็นอย่างไร ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคแพนิค มักจะมีอาการเหล่านี้ ในขณะที่ตัวเองนั้นรู้สึกตื่นตระหนก
- รู้สึกหายใจติดขัด หรืออาจหายใจไม่ค่อยออกเหมือนกับว่ากำลังจะขาดอากาศ และหายใจได้แต่แบบสั้นๆ เท่านั้น ไม่สามารถสูดหายใจยาวๆ ได้
- มีอาการใจเต้นเร็วจนผิดปกติ ใจสั่น และมีอาการแน่นหน้าอก
- รู้สึกหวาดกลัวจนไม่สามารถบังคับร่างกายได้ตามที่ใจต้องการ เช่น ไม่สามารถเดินได้ หรือไม่สามารถบังคับให้ตัวเองลุกขึ้นมาได้
- ทั้งตัวมีอาการสั่น โดยเฉพาะมือที่จะสั่นมาก รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ และตามร่างกาย มีเหงื่อไหลออกมาเป็นจำนวนมาก
- รู้สึกวิงเวียนศีรษะ มึนงง รับรู้สถานการณ์ต่างๆ รอบตัวได้น้อยลง รู้สึกมวลท้อง ไม่สบายท้อง และคลื่นไส้อาเจียน
- ในบางกรณี อาจมีผู้ป่วยที่รู้สึกเหมือนว่ากำลังฝัน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย หรืออาจมีการเสียสติ ไม่เป็นตัวของตัวเองในเวลาที่เกิดอาการ
ซึ่งถ้าหากว่าใครที่มีอาการเหล่านี้ทุกข้อ หรือแทบจะทุกข้อ เราอยากแนะนำให้ลองทำแบบทดสอบอาการของโรคแพนิคได้ที่นี่ เพื่อที่จะได้ทราบจริงๆ ว่า ตอนนี้เรามีอาการของโรคแพนิคหรือไม่ และถ้ามีอาการของโรคแพนิค วิธีการรักษาแบบใดที่จะเหมาะกับมากที่สุด
เกร็ดสุขภาพ : ฟังดูแล้ว โรคแพนิค กับ โรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder) นั้นมีอาการที่ค่อนข้างที่จะคล้ายกัน แต่ความแตกต่างของสองโรคนี้คือ โรคแพนิคก็ถูกกระตุ้นอาการเมื่อเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือเหตุการณ์ที่เป็นที่ฝังใจ และจะรู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ แต่โรคกลัวสังคมนั้น จะมีอาการวิตกกังวลและประหม่าเวลาที่ต้องตกเป็นเป้าสายตา หรือเวลาที่ต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น นำเสนองาน การใช้สวนสาธารณะที่มีผู้คนอยู่มาก เป็นต้น
โรคแพนิค วิธีการรักษาเป็นอย่างไร?
โรคแพนิค วิธีการรักษานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือการรักษาด้วยยา และการรักษาด้วยการบำบัดทางจิตใจ
การรักษาโดยการใช้ยา
โรคแพนิค วิธีการรักษา โดยการใช้ยานั้นจะแบ่งได้เป็นสองแบบ คือ ยารักษาชนิดออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งยาตัวนี้ มักขะถูกใช้ในระยะอาการเริ่มต้น และให้รับประทานยานี้ในแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เพราะถ้ารับประทานยาตัวนี้ต่อไปเรื่อยๆ อาจจะทำให้ร่างกายเกิดการดื้อยาได้ และอีกแบบหนึ่งคือ ยารักษาชนิดออกฤทธิ์ช้า โดยที่ยาตัวนี้จะเริ่มเห็นผลได้เมื่อรับประทานติดต่อกัน 2 – 4 สัปดาห์ ซึ่งผลของยาจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ประสาทในสมอง และไม่ทำให้เกิดการดื้อยาเหมือนกับยารักษาชนิดออกฤทธิ์เร็วอีกด้วย
- การรักษาโดยบำบัดจิตใจ
โรคแพนิค วิธีการรักษาโดยวิธีบำบัดจิตใจ คือการการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy – CBT) เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนความคิดในแง่ลบของตัวเอง ฝึกตอบสนองต่อความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้น และใช้วิธีจัดการความเครียดในแบบต่างๆ เข้ามาช่วยในการบรรเทาและรับมือกับอาการวิตกกังวลได้อย่างเหมาะสม
เกร็ดสุขภาพ : อีกหนึ่งสิ่งที่สามารถช่วยผู้ป่วยโรคแพนิคให้บรรเทาจากอาการวิตกกังวลได้ นั่นคือ การฝึกวิธีหายใจ เพื่อกำหนดลมหายใจเมื่อเกิดอาการ และฝึกสมาธิ จำกัดความเครียดด้อีกด้วย
โรคแพนิค อาจจะไม่ใช่โรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านร่างกายของเราโดยตรง แต่โรคแพนิคนั้นอาจจะนำอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันมาสู่ตัวเราและผู้อื่นได้ ดังนั้น เมื่อเรารู้ว่าโรคแพนิค คืออะไร และโรคแพนิค วิธีการรักษาเป็นอย่างไรแล้ว เราไม่ควรที่จะปล่อยปะละเลยอาการนี้ และควรรักษาให้หาย เพื่อที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกตินะครับ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : praram9.com,manarom.com,paolohospital.com
ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ