X

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการเป็นอย่างไร ภัยร้ายที่เกิดได้ทุกวัย

เพื่อสุขภาพ” ชุมชนสุขภาพ เรื่องราวตรงใจ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย รุ่นไหนก็รัก ♡

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเป็นอย่างไร ภัยร้ายที่เกิดได้ทุกวัย

หลายๆ ท่านอาจเคยได้ยินคำว่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย แต่ทุกท่านทราบหรือเปล่าว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้ สามารถเป็นอันตรายได้ถึงชีวิตเลยทีเดียว และไม่เพียงแต่ในวัยชราที่มีโอกาสเสี่ยงเท่านั้น แม้แต่ในวัยทำงานก็ยังมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน วันนี้เราจึงขออาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และสามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยวิธีไหน

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คืออะไร มีประเภทไหนบ้าง?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการ, กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุ
Image Credit : pharmaceutical-technology.com

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) เป็นโรคที่ฟังดูจากชื่อแล้วคล้ายจะเป็นโรคที่เกิดกับกล้ามเนื้อโดยตรง แต่จริงๆ แล้ว โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่เกิดจากระบบเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อนั้นๆ เกิดความเสื่อมสภาพ หรือถูกทำลาย จึงทำให้กล้ามเนื้อไร้ซึ่งเซลล์ประสาทควบคุม และก่อให้เกิดเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการนั้นมีแตกต่างกันไป และมีชนิดที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่

  1. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด Myesthenia Gravis หรือ MG

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดนี้มีสาเหตุมาจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่ร่ายกายจะคอยสร้างสารแอนติบอดีชนิดหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำลายเซลล์ประสาทของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกิดการอ่อนแรง และไม่สามารถควบคุมได้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการแบบนี้ สามารถพบเจอได้ทั้งในวัยเด็กไปจนถึงวัยชราเลยทีเดียว

  1. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด Guillain – Barre syndrome หรือ GBS

อีกหนึ่งชนิดของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และเชื้อไวรัสเหล่านั้น ไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิต้านทานทำให้สร้างภูมิต้านทานที่มีความผิดปกติออกมา คือเป็นภูมิต้านทานที่ไปทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  1. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดปลอกประสาทอักเสบ (Demyeliating disease)

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดนี้ เกิดจากการที่ปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลางเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายสร้างแอนติบอดีไปเกาะที่ปลอกประสาท เกิดจากภูมิแพ้ตัวเอง หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเสริม เช่น การสูบบุหรี่ในปริมาณที่มาก ระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ เป็นต้น

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการเป็นอย่างไร?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการ, กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุ
Image Credit : womenshealth.gov

ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนของร่างกาย ก็สามารถเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการต่างๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าระบบเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนไหนบนร่างกายที่เกิดความเสียหาย ดังนั้นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุจึงสามารถพบได้มากกว่าวัยอื่นๆ เพราะร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองในส่วนที่สึกเหรอได้ดีเท่าเดิม

  1. รู้สึกกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ไม่มีแรงหรือไม่สามารถควบคุมได้ดั่งใจ เช่น เมื่อเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณแขน จะทำให้รู้สึกว่าแขนไม่มีแรง กำมือไม่ได้ แขนเกิดการลีบเล็กลง
  2. รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ เกิดการแข็งเกร็งทำให้ขยับได้ลำบาก ในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุกร่วมด้วย
  3. มีอาการหนังตาตก มองเห็นภาพได้ไม่ชัด หรือมองเห็นภาพซ้อน อาจมีอาการที่พูดและกลืนอาหารได้ยากลำบาก
  4. ในบางราย อาจมีอาการหายใจไม่สะดวก เพราะเนื่องจากไม่สามารถกระบังลมได้

เกร็ดสุขภาพ : ถึงแม้ว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการต่างๆ จะไม่ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แต่ถ้าหากปล่อยไว้จะทำให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าโรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง คำตอบคือ โรคเรื้อรังนั้นได้มีการกำหนดความหมายไว้ว่า เป็นโรคที่มีระยะอาการที่ยาวนาน และค่อยๆ ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หรือโรคอ้วน

วิธีรักษา และป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการ, กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุ
  1. วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ในปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการต่างๆ  ยังไม่มีการรักษาที่แน่ชัด มักจะรักษาไปตามอาการ นั่นคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ เพื่อที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคได้จากระบบประสาท และกล้ามเนื้อได้โดยตรง ซึ่งการตรวจด้วยไฟฟ้าแบบนี้ มักถูกนำมาตรวจโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้ออีกด้วย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จากนั้นแพทย์อาจใช้ยาที่ช่วยยับยั้งการเกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท ซึ่งจะช่วยในการชะลอโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมในชีวิตได้ดีมากยิ่งขึ้น และป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนอีกด้วย

  1. วิธีการป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ไม่ควรปล่อยปะละเลย เมื่อเริ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในขั้นเบื้องต้น ให้ทำการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ และรับประทานให้ตรงเวลาตามคำแนะนำของแพทย์ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป และเลือกรับประทานของที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อให้ร่างกายสามารถป้องกันและฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้อย่างเต็มที่
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติดทุกชนิด และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกับครอบครัวที่คนในครอบครัวเคยป่วยหรือกำลังป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เกร็ดสุขภาพ : โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการหนัก อาจถึงขึ้นที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย แถมยังเป็นโรคที่ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดอีกด้วย ดังนั้นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นต่อผู้ป่วยมากๆ นั่นคือ ความเข้าใจและการให้กำลังใจ ซึ่งไม่เพียงแต่โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการหนักเท่านั้น โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ ความเข้าใจและกำลังใจก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน เช่น โรคแอสเพอร์เกอร์ ที่ผู้ดูแลของผู้ป่วยจะต้องใช้ความเข้าใจ และความอดทนเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยเป็นโรคนี้ สามารถเข้าสังคมได้ตามปกติ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุ อาจมีโอกาสเกิดมากกว่าคนในวัยหนุ่มสาวก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดเลยเสียทีเดียว ดังนั้นการรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการหมั่นออกกำลังอย่างพอดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : thairath.co.th, phyathai.com, absolute-health.org

ติดตามเราได้ที่ … เฟสบุ๊ค : เกร็ดสุขภาพ

ติดต่อโฆษณา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    เราขออนุญาติใช้คุกกี้นี้เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีขึ้นให้กับคุณ

Save